Saen Kham Terrace 1.33

Chiang Mai, 50100
Thailand

About Saen Kham Terrace

Saen Kham Terrace Saen Kham Terrace is a well known place listed as Thai Restaurant in Chiang Mai ,

Contact Details & Working Hours

Details


ตำนาน…. "นอกชานบ้านล้านนา" ที่แสนคำ

เมื่อแรกก่อตั้งร้านอาหาร "แสนคำ" มีชื่อเดิมว่า "แสนคำเทอร์เรส" ซึ่งเป็นการผนวกคำไทย "แสนคำ" กับคำว่า "terrace" ซึ่งแปลว่านอกชาน ด้วยเหตุที่ว่า พื้นที่เดิมของสโมสรหมู่บ้านอันเป็นพื้นที่ของร้านอาหารนั้น มีระเบียงอยู่ด้านนอกที่สามารถนั่งรับประทานอาหารได้คล้าย ๆ เป็นชานนอกบ้าน แต่ เนื่องจากร้านอาหารนี้เป็นร้านอาหารไทย และลักษณะพื้นที่ของสโมสรเดิมมิได้มีบรรยากาศของความเป็นไทยที่สอดคล้องกับแนวคิดเรื่อง "นอกชาน" ที่ได้กำหนดไว้แต่เดิมแต่อย่างใด จึงได้เกิดความคิดริเริ่มขึ้นใหม่ว่าบรรยากาศของร้านแสนคำควรจะได้รับการแก้ไขและปรับปรุงให้สอดคล้องกับแนวคิดที่ตั้งไว้แต่แรกเริ่ม

เมื่อเรากล่าวถึง "ชานบ้าน" หรือนอกชาน ในลักษณะของบ้านไทยเราจะพบว่า นอกชานมิได้เป็นเพียงมุมหนึ่งของบ้านที่มีไว้เพื่อนั่งเล่นนอกตัวอาคารเท่านั้น แต่นอกชานเป็นสถานที่ที่มีกิจกรรมต่าง ๆ เกิดขึ้นมากมาย นอกชานอาจถือได้ว่าเป็นพื้นที่เอนกประสงค์เช่นที่รับแขก รับประทานอาหาร นั่งเล่น และเป็นที่ทำงานฝีมือต่าง ๆ เช่น ทำจักสาน หรือ ทอผ้า

การตกแต่งบริเวณภายนอกของอาคารจึงเริ่มต้นจากการใช้แนวคิดเรื่อง "การจักสาน" และการทอผ้า" เป็นหลัก โดยเริ่มจากบันไดที่นำสู่ห้องอาหารที่ใช้หวายถักทอราวบันได แล้วรับด้วยพื้นกระเบื้องที่จำลองและประยุกต์ลวดลายของผ้าทอพื้นเมืองนำไปสู่ประตูทางเข้าของห้องอาหารที่ได้รับการออกแบบให้เป็นลักษณะ "ซุ้มประตู" ที่จะต้องเดินลอดก่อนที่จะเข้าไปสู่ตัวบ้านและสู่ชานบ้านที่มีความเป็นสัดส่วนและเป็นส่วนตัว

ภาพจิตรกรรมที่ใช้ตกแต่งที่โถงบันไดและในบริเวณห้องอาหารหลังเปียโนเป็นภาพจิตรกรรมซึ่งสะท้อนแนวคิดเรื่องผ้าพื้นเมืองได้อย่างประณีตวิจิตร ภาพจิตรกรรมอีกส่วนหนึ่งของผลงานแนวกึ่งจิตรกรรมฝาผนัง ซึ่งแสดงภาพวิถีชีวิตของชาวล้านนาที่เกี่ยวเนื่องกับการทอผ้าและการจักสาน ทั้งยังเป็นการให้บรรยากาศของชาวล้านนาดั้งเดิมในรูปของการถ่ายทอดทางศิลปะอีกด้วย

ผนังด้านนอกของอาคารเป็นการจำลองรูปแบบของกำแพงวัด เพื่อให้เกิดความรู้สึกแข็งแรงมั่นคงและในขณะเดียวกันก็ได้ความรู้สึกที่อ่อนโยน จากแนวโค้งของบัวที่ส่วนล่างของกำแพง โครงสร้างอีกส่วนหนึ่งที่นำแนวคิดมาจากสถาปัตยกรรมทางศาสนาก็คือโครงสร้างของเพดานห้องโถงภายในซึ่งจำลองมาจากโครงสร้างหลังคาของวัดล้านนาที่เรียกว่า "ม้าต่างไหม"

เนื่องจากร้านแสนคำ เป็นร้านอาหารไทย การตกแต่งภายในจึงมุ่งเน้นให้เกิดบรรยากาศของการ "กินข้าวที่บ้าน" และยิ่งไปกว่านั้นเป็นการ "กินข้าวบนนอกชาน" อีกด้วย มัณฑนากร จึงได้ยกพื้นสองฟากของห้องโถงเดิมขึ้น เพื่อจำลองบรรยากาศของนอกชานโดยใช้เครื่องเรือนและเครื่องตกแต่งที่เกี่ยวเนื่องกับเครื่องจักสานและการทอผ้า อันเป็นกิจกรรมที่เกิดขึ้นจริงบนนอกชานบ้านล้านนา วัสดุธรรมชาติซึ่งในที่นี้ได้แก่ หวาย ได้ถูกนำมาเป็นสื่อเสนอแนวคิด และอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่นำมาจากหูกทอผ้าพื้นเมือง ได้ถูกนำมาจัดวางในลักษณะของเครื่องตกแต่งอย่างลงตัว

...........ณ ชานบ้านแห่งนี้จึงมีเรื่องราวมากมาย ทุก ๆ สิ่งในที่นี้มีที่มาที่ไปและมีแนวคิดในตัวของมันเอง.........