ท่าอากาศยานน่านนคร 4.9

4.2 star(s) from 45 votes
Nan, 55000
Thailand

About ท่าอากาศยานน่านนคร

ท่าอากาศยานน่านนคร ท่าอากาศยานน่านนคร is a well known place listed as Airport in Nan , Airport Terminal in Nan ,

Contact Details & Working Hours

Details

ท่าอากาศยานน่านนคร หรือ สนามบินน่าน เป็นสนามบินที่ตั้งอยู่ที่ตำบลผาสิงห์ อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน ห่างจากตัวเมืองไปทางทิศเหนือประมาณ 3 กิโลเมตร มีพื้นที่ใช้ร่วมกับกองทัพอากาศทั้งหมด 1069 ไร่ 1 งาน 24 ตารางวา โดยใช้ในราชการท่าอากาศยานน่านนคร 392 ไร่ 2 งาน 99 ตารางวา เป็นท่าอากาศยานในสังกัดกรมท่าอากาศยาน กระทรวงคมนาคมประวัติเมื่อปี พ.ศ. 2458 เจ้าอุปราช (มหาพรหม ณ น่าน) เจ้าอุปราชนครน่าน (อิสริยศในขณะนั้น) ได้ทรงบริจาคทุนทรัพย์ส่วนพระองค์เพื่อซื้อเครื่องบินให้แก่กองทัพอากาศ จำนวน 1 ลำ ซึ่งต่อมาพระองค์มีพระประสงค์จะชมเครื่องบินลำที่พระองค์ซื้อให้แก่กองทัพอากาศ จึงได้นำความปรึกษากับอำมาตย์เอก พระวรไชยวุฒิกรณ์ ปลัดมณฑลพายัพ เพื่อจัดสร้างสนามบินขึ้น เมื่อพระวรไชยวุฒิกรณ์เห็นชอบแล้ว จึงได้เกณฑ์แรงงานราษฎรทำการถางโค่นต้นไม้ บริเวณตำบลหัวเวียงเหนือ เพื่อสร้างสนามบินขึ้น โดยใช้เวลาในการสร้างประมาณ 3 ปีเศษ จึงแล้วเสร็จ และทางกองทัพอากาศจึงได้นำเครื่องบินแบบ “เบเก้” จำนวน 3 ลำ รวมทั้งลำที่เจ้าอุปราชฯ ได้ทรงบริจาคทุนทรัพย์ส่วนพระองค์ซื้อให้ บินจากกองทัพอากาศดอนเมืองถึงสนามบินน่านสำเร็จและลงอย่างปลอดภัย ครั้นเมื่อเครื่องบินได้กลับไปแล้วก็มิได้ใช้สนามบินนี้อีก คงปล่อยทิ้งไว้และได้รับการบำรุงรักษาตามสมควรต่อมาเมื่อเกิดกรณีพิพาทอินโดจีนกับฝรั่งเศส สนามบินได้รับการปรับปรุงให้ดีขึ้นอีกครั้งเพื่อให้เครื่องบินจำนวน 3-4 ลำจากกองทัพอากาศสามารถมาประจำที่สนามบินน่านได้ แต่เมื่อสงครามอินโดจีนยุติลง ก็ไม่มีการใช้สนามบินอีก หลังจากนั้นอีกประมาณ 10 ปีเศษ สนามบินได้รับการปรับปรุงอีกครั้งหนึ่ง โดยทำการขยายทางวิ่งให้กว้างประมาณ 10 เมตร ยาวประมาณ 600 เมตร ผิวทางวิ่งบดทับด้วยดินลูกรัง พอที่เครื่องบินขนาดเล็กจะขึ้น-ลงได้ และเมื่อวันที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2514 กองทัพอากาศไทยได้จัดหน่วยบิน 231 ซึ่งมีเครื่องบินขับไล่ ทิ้งระเบิดมาประจำสนามบินน่าน พร้อมย้ายหน่วยบิน 713 และ 333 จากอำเภอเชียงกลาง มาประจำที่สนามบินน่าน รวมกันตั้งเป็นฝูงบิน 416 ต่อจากนั้นหน่วยบินของกองทัพบก และกรมการบินพาณิชย์ ได้ย้ายเข้ามาใช้พื้นที่ร่วมกับกองทัพอากาศ จึงได้ร่วมกันซ่อมทางวิ่งบางตอนที่ชำรุดให้ได้มาตรฐานและเพิ่มขีดความสามารถของทางวิ่งให้เป็นผิวแอสฟัลส์ติดคอนกรีต ยาว 2,000 เมตร กว้าง 45 เมตร ทางเผื่อหัวท้ายข้างละ 60 เมตร รับน้ำหนักสูงสุดได้ประมาณ 67,000 กิโลกรัม จนเครื่องบินขนาดใหญ่แบบซี-130 เฮอร์คิวลิส สามารถขึ้น-ลงได้อย่างปลอดภัย