วัดบรมนิวาสราชวรวิหาร (Wat Boromniwas) 5.05

เลขที่ 2 ถนนพระราม 1 แขวงรองเมือง เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร
Bangkok, 10330
Thailand

About วัดบรมนิวาสราชวรวิหาร (Wat Boromniwas)

วัดบรมนิวาสราชวรวิหาร (Wat Boromniwas) วัดบรมนิวาสราชวรวิหาร (Wat Boromniwas) is a well known place listed as Church/religious Organization in Bangkok , Religious Organization in Bangkok ,

Contact Details & Working Hours

Details

วัดบรมนิวาส (วัดบรม) อยู่ใกล้ตลาดโบ๊เบ๊ เดิมเรียกกันว่า วัดนอก พระบาทสมเด็จประจอมเหล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๔ โปรดเกล้าฯ ให้สร้างวัดนี้ขึ้นตั้งแต่เมื่อครั้งยังทรงผนวชอยู่ จุดประสงค์เพื่อให้เป็นวัดฝ่ายอรัญวาสี หรือ วัดป่า คู่กันกับวัดบวรนิเวศวิหารซึ่งเป็นวัดฝ่ายคามวาสี หรือ วัดในชุมชน ต่อมารัชกาลที่ ๕ ทรงโปรดเกล้าฯ ให้บูรณะปฏิสังขรณ์และพระราชทานนามใหม่ว่า วัดบรมนิวาส


ปูชนียวัตถุที่สำคัญของวัดบรมนิวาส คือ พระทศพลญาณ ซึ่งเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ประดิษฐานเป็นพระประธานในพระอุโบสถที่มีจิตรกรรมฝาผนังฝีมือขรัวอินโข่ง จิตรกรเอกแห่งรัชสมัย เขียนเป็นทิวทัศน์และผู้คนอย่างตะวันตกคล้ายกับที่วัดบวรนิเวศวิหารให้บรรยากาศแปลกตา ภาพวาดระหว่างช่องหน้าต่างแสดงศาสนกิจของพุทธศาสนิกชน และข้อประพฤติปฏิบัติของภิกษุสงฆ์ เช่น การบวช การถวายผ้าจำนำพรรษา การรักษาศีลในเทศกาลเข้าพรรษา การลอยกระทง การทอดกฐิน การทอดผ้าป่า การทำบุญเนื่องในวันมาฆบูชาและวิสาขบูชา เป็นต้น ส่วนเหนือช่องหน้าต่างเป็นภาพปริศนาธรรมที่ใช้ตัวละครเป็นฝรั่งทั้งหมด ฉากที่น่าสนใจได้แก่ฉากรถไฟและการส่องกล้องดูดาว

นอกจากนี้แล้วกุฏิสงฆ์และซุ้มประตูวัดบรมนิวาสยังเป็นแบบฝรั่ง ฝีมือช่างสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ มีความงดงามน่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง

ประวัติความเป็นมาของวัดบรมนิวาสราชวรวิหาร

วัดบรมนิวาสเป็นวัดโบราณท่านเจ้าของวัดเมื่อแรกเริมบูรณะปฏิสังขรณ์ได้ถวายพระบาทสมเด็จพระ
จอมเกล้าเจ้าอยู่หัวขณะที่ทรงผนวชอยู่ ให้เป็นวัดข้าหลวงเดิม (ผู้รับใช้สอยใกล้ชิดมาก่อนที่จะครองราชย์เป็นพระมหากษัตริย์) ดังความปรากฏในพระราชพงศาวดาร ของพระยาทิพากรวงศ์ ระบุว่า

“ วัดพระราชรินทรอาศน์สร้างไว้ค้างอยู่ ถวายเป็นวัดข้าหลวงเดิม โปรดให้ทำการเพิ่มเติมขึ้นอีกหลายสิ่ง และก่อพระเจดีย์องค์ใหญ่ไว้หลังพระอุโบสถพระราชทานชื่อว่า วัดบรมนิวาส ”

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชประสงค์สถาปนาพระอารามนี้เพื่อเป็นที่ประทับ
สำราญอิริยาบถ ครั้นถวายเป็นพระอารามหลวงในรัชกาลที่ ๓ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานนามว่า วัดบรมนิวาส การก่อสร้างยังไม่แล้วเสร็จ เมื่อทรงลาผนวชเสด็จเถลิงถวัลราชสมบัติใน พ.ศ. ๒๓๙๔ จึงทรงจัดการก่อสร้างต่อมาจนแล้วเสร็จ

วัดบรมนิวาสในครั้งนั้นชื่อว่าวัดบรมสุข แต่เรียกว่าวัดนอก เช่นเดียวกับการเรียกวัดบวรนิเวศวิหาร ว่าวัดบน

เดิมที่เรียกว่าวัดนอก คงเพราะตั้งอยู่บริเวณนอกกำแพง ส่วนที่เรียนวัดบวรนิเวศวิหารว่าวัดบนนั้น
เป็นการเรียกให้เสมือนเป็นการประกาศให้ทราบว่าพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเทียบพระ
บาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ไว้ในถานะกรมพระราชวังบวรสถานมงคล โดยเปรียบที่วักบวรนิเวศ
เทียบได้กับบวรสถาน ส่วนที่เรียกว่าวัดบน ก็เสมือนวังบน ซึ่งหมายถึงพระราชวังบวรสถานมงคลเช่น
กัน ดังปรากฏความที่สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรสทรงนิพนธ์

“ วัดนี้ชื่อว่าวัดบวรนิเวศ เทียบได้กับบวรสถานน่าจะได้พระราชทานในครั้งนี้เมื่อปีเถาะ จ.ศ. ๑๑๙๓ (พ.ศ. ๒๓๗๔) ในหมายรับสั่งยังเรียกว่าวัดใหม่ ครั้นปีมโรง จ.ศ ๑๒๐๖ (พ.ศ. ๒๓๘๗) เรียกวัดบวรนิเวศ แล้วอีกอย่างหนึ่งโวหารสั้นเรียกว่าวัดบน เทียบกันได้กับวังบนฯ ”

วัดบรมนิวาสนี้ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหามกุฎ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว คงจะทรงมีพระราชประสงค์ให้คู่กันกับวัดบวรนิเวศวิหาร กล่าวคือ วัดบวรนิเวศวิหาร เป็นวัดของคณะสงฆ์ฝ่ายคามวาสีของธรรมยุติกนิกาย เป็นศูนย์กลางปริญัติธรรมของธรรมยุติ ส่วนวัดบรมนิวาสเป็นวัดคณะสงฆ์ฝ่ายอรัญวาสีของธรรมยุตินิกาย และอีกนัยหนึ่ง กล่าวว่าพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงปรึกษากับกรมสมเด็จพระปรมานุชิตฯ ถึงสถานะของทั้งสองพระองค์ หากสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคตเสียก่อนโดยราชสมบัติและแผ่นดินต้องตกอยู่กับเจ้านายบางพระองค์ เสถียรภาพแห่งความมั่นคงของพระองค์ทั้งคู่อาจจะตก
อยู่ในภาวะเดือดร้อน ดังนั้นจึงทรงดำริร่วมกันในการจัดสร้างวักเล็ก ๆให้ห่างไกลเมืองเพื่อว่าจะได้ใช้สำหรับเป็นที่หลบภัยในคราวจำเป็น กรมสมเด็จพระปรมานุชิตฯ จึงทรงสร้างวัดชิโนรสริมคลองมอญขึ้น ส่วนพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสถาปนาวัดบรม
นิวาสขึ้นใหม่สำหรับพระองค์เช่นกัน

จากข้อมูลประวัติที่ พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (สิริจนฺโท จันทร์) เจ้าอาวาสรูปที่ ๕ ได้ทรงเขียนไว้เกี่ยวกับเสนาสนะภายในวัดดังนี้

“ น่าสลดใจคราวหายนะเมื่ออัตตโนมาอยู่กำลังวัดโทรม คณะหอเขียวมีกุฏิ ๕ หลัง พออาศัยอยู่ได้แต่ชำรุดทุกหลัง กุฏิใหญ่พื้นชั้นล่างทรุด กระดานโกงอาศัยไม่ได้ พื้นชั้นบนดีแต่อับหน้าต่างเล็กซ่อมซ่อ พระเณรอยู่ไม่ได้เป็นไข้ อัตตโนก็ออกอยู่ที่ระเบียงพอตลอกพรรษา ออกพรรษาอัตตโนไปปลูกกุฏิเล็กอยู่ต่างหาก คณะกลางที่รื้อสร้างโรงธรรมสวนะทุกวันนี้ มีกุฏิอยู่ ๖ หลัง พอพระเณรอาศัยอยู่ได้หลังเดียว ยังพออาศัยอยู่ได้มากแต่คณะกุฏิ แต่ก็ชำรุดหลายหลัง หน้าวัดมีศาลาระเบียงรอบ ๓ หลัง ชำรุดทุกหลังใช้การไม่ได้ คณะสวนมีศาลา ๒ หลัง แต่ชำรุดอาศัยไม่ได้เหมือนกัน ”

เดิมอาคารเสนาสนะต่างเป็นไม้ หมู่กุฏิเจ้าอาวาส (กุฏิหอเขียว) ซึ่งเป็นที่อยู่อดีตเจ้าอาวาสมา ๔ ช่วงก็ทรุดโทรมลงไม่อาจใช้การได้ ต่อมาทางวัดได้ใช้เป็นโรงเรียนสอนหนังสือไทยให้พระสอนช่วงเจ้าอาวาสรูปที่ ๕

ในปี พ.ศ. ๒๔๕๐ เจ้าจอมมารดาทับทิม มีศรัทธาสร้างกุฏิสมภารถวาย คือกุฏิปัทมราชในปัจจุบันครั้น ปี พ.ศ. ๒๔๕๔ เจ้าจอมมารดาเลื่อน มีศรัทธาสร้างศาลาธรรมสวนะขึ้นที่คณะกลางชื่อศาลาอุรุพงษ์ พระประธานชะลอมาจากวัดหลุมดินเก่าเมืองราชบุรี

และจากข้อมูลประวัติพระอารามระบุระยะเวลาสร้างพระอาราม โดยมีอาคารสำคัญ คือ พระอุโบสถ และพระเจดีย์ ทรงสร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๓๗๗ ส่วนอาคารในเขตสังฆาวาสที่สำคัญ คือ ศาลาการเปรียญ และกุฏิซึ่งสร้างหลายช่วงสมัย ดังมีรายละเอียดความว่า

“ ศาลาการเปรียญสร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๔ เป็นศาลาทรงไทยยกพื้นชั้นล่างเทคอนกรีต ชั้นบนปูด้วยไม้เนื้อแข็ง เสาเป็นไม้กลม ผนังด้านในก่ออิฐถือปูนด้านนอกทำด้วยหินล้าง มีหน้ามุขพร้อมช่อฟ้าใบระกา ๒ มุข ที่หน้ามุขมีไม้แกะสลักเป็นลายไทยลงรักติดกระจก

กุฎิมี ๕๕ หลัง สร้าง พ.ศ. ๒๓๗๗ จำนวน ๑๔ หลัง นอกนั้นสร้างเสร็จเมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๘ และ พ.ศ. ๒๕๑๘ ลักษณะโครงสร้างก่อด้วยอิฐถือปูน ๕๑ หลัง สร้างด้วยไม้ ๔ หลัง ทรงปั้นหยา

พระประธานในพระอุโบสถ เป็นพระพุทธรูปหล่อสมัยสุโขทัย ปางมารวิชัยหน้าตักกว้าง ๓ ศอก สูง ๑ วา ๕ นิ้ว ซึ้งได้อัญเชิญมาจากเมืองพิษณุโลกมีพระนามว่าพระทศพลญาณ

พระพุทธรูปในศาลาการเปรียญ เป็นพระศิลาแลงลงรักปิดทองหน้าตักกว้าง ๑ วา ๑๗ นิ้ว สูง ๑ วา ๑ ศอก ๑ นิ้ว นำมาจากวัดอรัญญิก จังหวัดราชบุรี เดิมเป็นพระพุทธรูปชำรุด

พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (สิริจนฺโท จันทร์)เมื่อครั้งยังเป็นพระญาณรักขิต ได้อัญเชิญลงมายังวัดบรมนิวาส แล้วต่อประสานเข้าเป็นองค์และฉาบด้วยปูนลงรักปิดทองเสร็จแล้วถวายพระนามว่า “พระพิชิตมารมัธยมพุทธกาล”

พระนิรันตรายเป็นพระพุทธรูปปางสมาธิเพชร หล่อด้วยทองสัมฤทธิ์ กะไหล่ทอง เบื้องหลังมีเรือนแก้วพุ่มมหาโพธิ์ มีอักษรขอมจารึกไว้ในวงกลีบบัวยอดเรือนแก้วมีรูปมงกุฎรองฐานพระเป็นที่สำหลับรับน้ำสรง มีท่อเป็นรูปศรีษะโค

ดังนั้นพระอารามเริ่มสร้างประมาณปี พ.ศ. ๒๓๗๗ ซึ่งเป็นเวลาที่พระบาทสมพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๔) ยังทรงผนวชครองอยู่ที่วัดราชาธิวาส และยังมิได้ย้ายไปประทับที่วัดบวรนิเวศวิหาร (ย้ายไปประทับวัดบวรนิเวศวิหาร เมื่อ พ.ศ. ๒๓๗๙) และเป็นพระอารามเดียวที่พระองค์ทรงเริ่มสร้างในระหว่างที่ยังทรงผนวช

จดหมายเหตุ รัชกาลที่ 4



วัดบรมนิวาสหันด้านหน้าออกคลองแสนแสบ มีคูน้ำรอบพระอารามเป็นวัดที่มีพื้นที่ขนาดย่อมบริเวณด้านหน้า จากประวัติวัดมีศาลาท่าน้ำถัดไปมีต้นพระศรีมหาโพธิ์ และในแนวแกนด้านหลังต้นพระศรีมหาโพธิ์เป็นที่ตั้งของส่วนพุทธาวาส อยู่เยื่องทางด้านทิศตะวันออกมีกำแพงชักล้อมรอบมีซุ้มประตูครอบทับกำแพงเป็นทางเข้าพุทธาวาส มีขนาดพื้นที่ประมาณ ๓๐.๐๐-๕๒.๐๐ เมตร อาคารสำคัญของพุทธาวาสประกอบด้วย พระอุโบสถ พระเจดีย์และพระระเบียงโอบล้อมพระเจดีย์ ๓ ด้านที่ด้านหน้ากำแพงตรงมุมมีหอกลองและหอระฆัง โดยหอระฆังอยู่ชิดมาทางด้านส่วนสังฆาวาส
ส่วนสังฆาวาสในปัจจุบันมีกุฏิโอบล้อมส่วนพุทธาวาส แต่จากข้อมูลประวัติพบว่าส่วนสังฆาวาสเดิม สมัยแรกคงอยู่ทางด้านทิศตะวันตกของส่วนพุทธาวาส
จิตกรรมฝาผนังพระอุโบสถวัดบรมนิวาสราชวรวิหาร
เป็นภาพวาดปริศนาธรรม โดยท่าน ขรัวอินโข่ง ในสมัยรัชกาล ที่ ๔


ทำเนียบเจ้าอาวาส

1.พระญาณรักขิต (สุข) (เจ้าอาวาสรูปที่ ๑)
2.พระอมราภิรักขิต (อมโร เกิด ป.ธ.๙ เจ้าอาวาสรูปที่ ๒)
3.พระพรหมมุนี (สุมิตฺโต เหมือน ป.ธ.๙ เจ้าอาวาสรูปที่ ๓)
4.พระวินัยรักขิต (จันทร์ เจ้าอาวาสรูปที่ ๔)
5.พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ ( สิริจนฺโท จันทร์ ป.ธ.๔ เจ้าอาวาสรูปที่ ๕)
6.สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ ( ติสฺโส อ้วน ป.ธ.๔ เจ้าอาวาสรูปที่ ๖)
7.พระธรรมดิลก ( จนฺทูปโม ทองดำ ป.ธ.๗ เจ้าอาวาสรูปที่ ๗)
8.พระเทพวรคุณ ( ชาคโร สิงห์ ป.ธ.๖ เจ้าอาวาสรูปที่ ๘)
9.พระพรหมมุนี ( สุจิณฺโน บู่ ป.ธ.๙ เจ้าอาวาสรูปที่ ๙)
10.พระเทพสุเมธี(สนอง เขมี ป.ธ.๔ เจ้าอาวาสรูปที่ ๑๐)
11.พระเทพวรคุณ(ประศาสน์ ปญฺญาธโร)
(ป.ธ.๔ รองเจ้าคณะภาค ๘ ธรรมยุต M.A. ศน.ด กิตติมศักดิ์ มมร.)
เจ้าอาวาสวัดบรมนิวาสราชวรวิหารรูปปัจจุบัน


พระเทพวรคุณ
(ประศาสน์ ปญฺญาธโร)
(ป.ธ.๔ รองเจ้าคณะภาค ๘ ธรรมยุต M.A. ศน.ด กิตติมศักดิ์ มมร.)
เจ้าอาวาสวัดบรมนิวาสราชวรวิหารรูปปัจจุบัน

พระเทพวรคุณ ฉายา ปญฺญาธโร อายุ ๖๒ ปี พรรษา ๔๑ วิทยฐานะ น.ธ.เอก, ป.ธ. ๔ ,
ศาสนศาตรบัณฑิต (ศน.บ.) มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
(M.A) BHU พาราณสี ประเทศอินเดีย
ศาสนศาตรดุษฏีบัณฑิตกิตติมศัก (ศน.ด) มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยา

สังกัดวัดบรมนิวาส แขวงรองเมือง เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง
๑. เจ้าอาวาสวัดบรมนิวาส
๒. รองเจ้าคณะภาค ๘ (ธรรมยุต)
๓. รักษาการแทนเจ้าคณะจังหวัดหนองบัวลำภู (ธรรมยุต)


สถานะเดิม ชื่อ ประศาสน์ นามสกุล เป็นมงคล เกิด ๕ฯ๑๐ ปีกุน ตรงกับวันที่ ๑ ตุลาคม ๒๔๙๐
บิดานายพิมพ์ เป็นมงคล
มารดานางทา เป็นมงคล
บ้านเลขที่ ๕๒ หมู่ ๑ บ้านหนองวัวซอ ตำบลหนองวัวซอ อำเภอหนองวัวซอ จังหวัด
อุดรธานี

บรรพชาอุปสมบท

บรรพชาเมื่อวันที่ ๓ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๑๐ ณ. วัดบุญญานุสรณ์ อำเภอหนองวัวซอ จังหวัดอุดรธานี
พระอุปัชฌาย์ พระพิศาลคณานุกิจ วัดพิศาลรัญญาวาส

อุปสมบทเมื่อวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๑๑ ณ. วัดบุญญานุสรณ์ อำเภอหนองวัวซอ จังหวัดอุดรธานี
พระอุปัชฌาย์ พระพิศาลคณานุกิจ วัดพิศาลรัญญาวาส
พระกรรมวาจาจารย์ พระครูสิริจันทรวิวัฒน์ วัดหนองแวงยาว
พระอนุสาวนาจารย์ พระครูโสภณคณานุรักษ์ วัดบุญญานุสรณ์

การปกครอง
พ.ศ. ๒๕๓๓ เป็นผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดบรมนิวาส เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร
พ.ศ. ๒๕๔๑ ได้รับแต่งตั้งเป็นรองเจ้าคณะภาค ๘ (ธรรมยุต)
พ.ศ. ๒๕๓๓ ได้รับแต่งตั้งเป็นพระอุปัชฌาย์
พ.ศ. ๒๕๔๖ เป็นผู้รักษาการเจ้าอาวาสวัดบรมนิวาส เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร
พ.ศ. ๒๕๔๗ เป็นเจ้าอาวาสวัดบรมนิวาส เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร
พ.ศ. ๒๕๔๘-๒๕๔๙ เป็นผู้รักษาการแทนเจ้าคณะจังหวัดเลย (ธรรมยุต)
พ.ศ. ๒๕๕๒ เป็นผู้รักษาการแทนเจ้าคณะจังหวัดหนองบัวลำภู (ธรรมยุต)

สมณศักดิ์
พ.ศ. ๒๕๓๓ ได้รับการแต่งตั้งเป็นพระครูฐานานุกรม ที่ พระครูปลัดสุวัฒนญาณคุณ ฐานานุกรม ในพระญาณวโรดม
พ.ศ. ๒๕๓๕ ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญ ในราชทินนาม ที่ พระอมรโมล
พ.ศ. ๒๕๔๒ ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชคณะชั้นราช ในราชทินนาม ที่ พระราชมงคลบัณฑิต
พ.ศ. ๒๕๕๐ ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชคณะชั้นเทพ ในราชทินนาม ที่ พระเทพวรคุณ

( Wat Borom ) is near the Bo Bae Market. It was called originally Wat Nok. King Rama IV ordered the construction of this temple while he was still a monk. It was intended to be a forest temple ( Aranyawasee ) companion to Wat Bowornniwet Vihara, which was intended to be the community temple ( Khamawasee ). King Rama V ordered the temple to be renovated and renamed it Wat Boromniwas.

Of importance is the Phra Tosapholayarn, a Buddha image in the marn vichai pose that is installed as the presiding image in the phra ubosot. In the phra ubosot there are unusual murals that were painted by Khrua In Khong, the leading artist of the reign, depicting landscapes and people drawn in the Western style, similar to those found at Wat Bowornniwet Vihara. Between the windows there are scenes depicting activities of Buddhist laymen and monk, such as the ordination ceremony, presentation of robes for the monkhood, observing the precepts during Buddhist Lent, the Loy Krathong festival, Kathina robe presentation and offer picked-up robed, and making merit on the feasts of Magha Puja and Visakha Puja. Above the windows there are scenes in which the people are all Europeans and include scenes of a train and stargazing with a telescope.

Also of interest are the monks' residences and the entrance arch, which are in the European style, the work of craftsmen in the reign of King Rama V.

OTHER PLACES NEAR วัดบรมนิวาสราชวรวิหาร (WAT BOROMNIWAS)

Show more »