โรงเรียนเซนต์จอห์น 1.33

1110/2 ถ.พหลโยธิน แขวงจอมพล เขตจตุจักร
Bangkok, 10900
Thailand

About โรงเรียนเซนต์จอห์น

โรงเรียนเซนต์จอห์น โรงเรียนเซนต์จอห์น is a well known place listed as Education in Bangkok ,

Contact Details & Working Hours

Details

โรงเรียนเซนต์จอห์นเริ่มก่อตั้งที่บริเวณกลางทุ่งห้วยขวาง เมื่อ พ.ศ. 2504 ข้าง โรงเรียนจันทร์หุ่นบำเพ็ญในปัจจุบัน โดยอาจารย์สมัย ชินะผา และอาจารย์สุมน ชินะผา เนื่องจากไม่มีทางเข้าโรงเรียนจึงย้ายไปที่บริเวณหน้าวัดไผ่ตัน ก่อสร้างอาคารชั้นเดียว 2 หลัง รวม 12 ห้องเรียน วันที่ 17 พฤษภาคม 2504 เปิดเรียนวันแรกมีนักเรียน 281 คน อาจารย์สุมน ชินะผา เป็นครูใหญ่

ต่อมาซื้อที่ดินปากทางลาดพร้าวจากคุณประดิษฐ์ กรรณสูตจำนวน 4 ไร่ 3 งาน 13 ตารางวา และเริ่มก่อสร้างอาคารไม้ 2 ชั้น ยาว 80 เมตร และอาคารครึ่งไม้ครึ่งตึก 2 ชั้น ยาว 40 เมตร 20 ห้องเรียน และซื้อเพิ่มอีก 456 ตารางวา และสร้างอาคารอนุบาลเพิ่มอีก 1 หลังวันที่ 17 พฤษภาคม 2505 เปิดเรียนวันแรกในที่ตั้งใหม่คือบริเวณห้าแยกลาดพร้าว ในปัจจุบัน มีนักเรียน 2,115 คน มีครู 80 คน มีนักเรียนประจำชายหญิง 80 คน เริ่มมีมิสซา วันอาทิตย์โดยใช้อาคารอนุบาลเป็นวัดชั่วคราว ปี พ.ศ. 2505 สร้างตึกเซนต์จอห์นเป็นอาคารเรียน 4 ชั้น ความยาว 48 เมตร

วันที่ 17 พฤษภาคม 2507 กระทรวงศึกษาธิการให้การรับรองวิทยาฐานะ จึงได้ ขยายชั้นเรียนถึง มศ. 5 และกระทรวงศึกษาธิการให้เก็บเงินบำรุงโรงเรียนได้คนละ 150 บาทต่อปี

วันที่17 พฤษภาคม 2508 กระทรวงศึกษาธิการได้อนุญาตให้โรงเรียนเซนต์จอห์นจดทะเบียนแยกเป็น 3 โรงเรียน มีผู้จัดการและครูใหญ่ของแต่ละโรงเรียน โดยมีโรงเรียนเซนต์จอห์น โรงเรียนสตรีเซนต์จอห์น และโรงเรียนอนุบาลเซนต์จอห์น และเพิ่มหลักสูตร คอมเมิร์สเป็นหลักสูตรภาษาอังกฤษ บนพื้นที่ 1 ไร่ ชื่อโรงเรียนตรีนิติ (Trinity College) โดยสร้างอาคารเรียน 2 ชั้น 6 ห้องเรียน ครึ่งตึกครึ่งไม้ ส่วนแผนกสามัญได้สร้างตึก 6 ชั้น 26 ห้องเรียน ความยาว 48 เมตรเพื่อใช้เป็นอาคารนักเรียนหญิง และได้ซื้อที่เพิ่มอีก 2 ไร่ เพื่อเตรียมสร้างตึก 6 ชั้น สำหรับนักเรียนประจำชาย

พ.ศ. 2514 เปิดแผนกพาณิชยการปีที่ 1 หลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการ มีนักเรียน หญิง 800 คน แผนกสามัญมีนักเรียนชายหญิง 5,000 คน แผนกคอมเมิร์สมีนักเรียน ชาย-หญิง 400 คน

พ.ศ. 2515 เปิดแผนกช่างสำรวจขึ้นอีกอีกแผนกหนึ่งในบริเวณอาชีวศึกษา และสร้างโรงฝึกงานขนาดใหญ่ยาว 90 เมตร เพื่อเตรียมเปิดแผนกช่างยนต์

พ.ศ. 2516 เปิดแผนกช่างยนต์เพิ่มอีกหนึ่งแผนกที่บริเวณอาชีวศึกษามีอุปกรณ์ การฝึกที่ทันสมัยครบครัน ในปีนี้เองเกิดความไม่สงบทางการเมือง วันที่ 14 ตุลาคม นักเรียนอาชีวคนหนึ่งถูกยิงตายที่ถนนราชดำเนิน

พ.ศ. 2518 ติดต่ออาจารย์ชัยณรงค์ มนเทียรวิเชียรฉาย อดีตอาจารย์ใหญ่เซนต์จอห์นคอมเมิร์ส ซึ่งกำลังปฏิบัติหน้าที่การงานที่สถานีวิทยุ บีบีซี กรุงลอนดอน ให้กลับมาช่วยบริหารโรงเรียนในฐานะผู้อำนวยการทั่วไป เริ่มตั้งแต่ปีการศึกษา 2519
เป็นต้นไป

พ.ศ. 2520 ขออนุญาตกระทรวงจัดตั้งโรงเรียนศึกษาผู้ใหญ่ “มหิปธร”

พ.ศ. 2523 เปิดแผนกอิเลคทรอนิคส์เป็นปีแรกที่อาชีวศึกษา และอาชีวศึกษา ทุกแผนกเริ่มเรียน 2 รอบ คือ รอบเช้าและรอบบ่าย เพื่อเตรียมรับนักเรียนขยายเท่าตัวในปี ต่อมาจากการปรับหลักสูตร กล่าวคือมีนักเรียนชั้น ม.3 และม.ศ.3 จบพร้อมกันในปีเดียวกัน
และติดตั้งนาฬิกาขนาดใหญ่ที่แผนกสามัญ เป็นระบบควอทซ์จากสวิสเซอร์แลนด์ หน้าปัด กว้าง 3 เมตรครึ่ง เดือนหนึ่งจะเดินผิดพลาดไม่เกิน 3 วินาที เป็นนาฬิกาบอกเวลา และความคุมสัญญาณกริ่งอัตโนมัติ สำหรับการเปลี่ยนชั่วโมงเรียนของแผนกสามัญ และอาชีวศึกษา ค่านาฬิการวม ค่าติดตั้งคิดเป็นเงิน 140,000 บาท

ปี พ.ศ. 2533 ได้เปิดวิทยาลัย St.John's ซึ่งมีโครงการจะเปิดเป็นมหาวิทยาลัย ต่อไป โดยรออาคาร "ชิน โสภณพนิช"และอาคาร "ฤดีทิพย์" ซึ่งกำลังก่อสร้าง

วันที่ 30 พฤศจิกายน 2534 มีการเซ็นสัญญาความร่วมมือระหว่างสถาบันเซนต์จอห์นกับสถาบัน Bell แห่งประเทศอังกฤษ เป็นสัญญาเริ่มโครงการ เปิดโรงเรียนเซนต์จอห์นนานาชาติขึ้นในอาณาบริเวณโรงเรียนเซนต์จอห์น

ปี พ.ศ.2545 โรงเรียนดำเนินงานศูนย์ภาษาอังกฤษด้วยตนเองไม่ต้องอาศัยสถาบัน BELL อีกต่อไป

ปี พ.ศ.2547 โรงเรียนเซนต์จอห์น และโรงเรียนสตรีเซนต์จอห์น ได้รวมกิจการเป็นโรงเรียนเดียวกันเปิดสอนแบบสหศึกษาใช้ชื่อว่าโรงเรียนเซนต์จอห์น

OTHER PLACES NEAR โรงเรียนเซนต์จอห์น

Show more »