มิวเซียมสยาม 5.17

Phra Nakhon, 10200
Thailand

About มิวเซียมสยาม

มิวเซียมสยาม มิวเซียมสยาม is a well known place listed as Community & Government in Phra Nakhon , Landmark in Phra Nakhon ,

Contact Details & Working Hours

Details

มิวเซียมสยาม หรือ พิพิธภัณฑ์การเรียนรู้ () เป็นพิพิธภัณฑ์ตั้งอยู่บนถนนสนามไชย แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร เปิดให้บริการเมื่อ 2 เมษายน พ.ศ. 2551 เป็นพิพิธภัณฑ์ที่ใช้เทคนิคการเล่าเรื่องแบบโต้ตอบโดยใช้ตัวละคร 7 ตัวเป็นตัวกลาง มิวเซียมสยามดูแลโดยสถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติมิวเซียมสยาม พิพิธภัณฑ์การเรียนรู้นี้ ถือเป็นแหล่งการเรียนรู้หนึ่งที่เน้นจุดมุ่งหมายในการแสดงตัวตนของชนในชาติ ซึ่งจะทำให้ผู้เข้าชม โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้เข้าชมที่อยู่ในวัยเด็กและเยาวชน ได้เรียนรู้รากเหง้าของชาวไทย โดยเน้นไปที่กลุ่มชนในเขตเมืองบางกอก หรือที่เรียกในปัจจุบันว่า กรุงเทพมหานคร เป็นสำคัญ เนื่องจากตัวมิวเซียมสยามแห่งนี้ได้ตั้งอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร แต่มิได้หมายความว่าถ้าเป็นคนไทยต่างจังหวัด จะไม่สามารถมาเรียนรู้จากพิพิธภัณฑ์นี้ได้ ด้วยเพราะสิ่งที่จัดแสดงในมิวเซียมสยามนี้ แสดงถึงความเป็นมาของชนชาติไทย ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน ผ่านการนำเสนอด้วยสื่อผสมหลายรูปแบบ ทำให้มีความน่าสนใจ และดึงดูดใจผู้เข้าชมได้เป็นอย่างยิ่ง ทั้งยังตั้งอยู่ในสถานที่สวยงามพื้นที่จัดแสดงอาคารกระทรวงพาณิชย์เดิมภายในมิวเซียมสยามเป็นอาคาร 3 ชั้น มีห้องจัดแสดงนิทรรศการถาวรทั้งหมด 17 ห้อง ภายใต้หัวข้อ "เรียงความประเทศไทย"การจัดแสดงการจัดพื้นที่ภายในแบ่งเป็นเนื้อหาย่อย 17 ธีม ในรูปแบบ "เรียงความประเทศไทย" ให้ผู้เข้าชมได้เรียนรู้ผ่านสื่อต่าง ได้แก่ เบิกโรง (Immersive Theater) ไทยแท้ (Typically Thai) เปิดตำนานสุวรรณภูมิ (Introduction to Suvarnabhumi) สุวรรณภูมิ(Suvarnabhumi) พุทธิปัญญา (Buddhism) กำเนิดสยามประเทศ (Founding of Ayutthaya) สยามประเทศ (Siam) สยามยุทธ์ (War Room) แผนที่ ความยอกย้อนบนแผ่นกระดาษ (Map Room) กรุงเทพฯ ภายใต้ฉากอยุธยา (Bangkok, New Ayutthaya) ชีวิตนอกกรุงเทพฯ (Village Life) แปลงโฉมสยามประเทศ (Change) กำเนิดประเทศไทย (Politics & Communications) สีสันตะวันตก (Thailand and the World) เมืองไทยวันนี้ (Thailand Today) มองไปข้างหน้า (Thailand Tomorrow) (ของแถม)ตึกเก่าเล่าเรื่อง ในการเข้าชมมิวเซียมสยามนั้น ทางพิพิธภัณฑ์จะให้เริ่มชมจากชั้น 1 ต่อไปยังชั้น 3 และลงมาสิ้นสุดที่ชั้น 2 บทความนี้จะลำดับความตามลำดับการชม