สาขาวิชาการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ 3.43

5 star(s) from 6 votes
Bangkok, 10120
Thailand

About สาขาวิชาการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ

สาขาวิชาการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ สาขาวิชาการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ is a well known place listed as University in Bangkok , College & University in Bangkok ,

Contact Details & Working Hours

Details

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร (หลักสูตรปรับปรุง 2555) มุ่งเน้นผลิตบัณฑิตให้มีความรู้ความสามารถทั้งภาคทฤษฎี และภาคปฏิบัติ ตามปรัชญาของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ ที่มุ่งเน้นให้นักศึกษาเป็นผู้ที่มีทักษะทางทฤษฎีและสามารถลงมือปฏิบัติได้จริง ด้วยการบูรณาการความรู้ทั้งทางด้านวิทยาศาสตร์การอาหาร การพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร วิศวกรรมอาหาร การบริหารจัดการงานในอุตสาหกรรม รวมถึงการตลาดและการจัดการเพื่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์ เพื่อให้ได้ซึ่งบัณฑิตนักพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารที่มีความรู้รอบด้านสามารถสร้างแนวคิดในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ด้วยพื้นฐานองค์ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ หรือการวิจัยเพื่อพัฒนาตำรับอาหาร รวมไปถึงการตรวจสอบคุณภาพในระดับอุตสาหกรรม

ความเป็นมาของสาขาวิชาการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร
โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์อานนท์ อาจศิริ

นับตั้งแต่ก่อตั้งคณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ เป็นครั้งแรกในชื่อ "โรงเรียนสตรีบ้านทะวายเมื่อ พ.ศ. 2474" นั้น นักศึกษาสายอาชีวศึกษามีโอกาสศึกษาต่อถึงระดับปริญญาน้อยมาก เพราะไม่มีการจัดการเรียนการสอนวิชาชีพเหล่านี้ในระดับอุดมศึกษาอย่างแท้จริง
นักศึกษาสาขาวิชาคหกรรมศาสตร์ที่จบประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ซึ่งเป็นระดับสูงสุดของสายอาชีวศึกษา จึงต้องไปศึกษาต่อในสาขาวิชาการศึกษา (การศึกษาบัณฑิตหรือศึกษาศาสตรบัณฑิต) หรือสาขาวิทยาศาสตร์ (โภชนาการ) ซึ่งเปิดสอนอยู่ตามมหาวิทยาลัยต่างๆ เช่น มหาวิทยาลัยศรีนครรินทรวิโรฒ (ประสานมิตร) หรือมหาวิทยาลัยมหิดล เป็นต้น
44 ปีต่อมาหรือในปี พ.ศ. 2518 ได้มีการสถาปนาวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา (ปัจจุบันคือมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล) และก่อตั้ง "คณะคหกรรมศาสตร์" ขึ้น นักศึกษาที่จบระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) สาขาคหกรรมศาสตร์จึงมีโอกาสเรียนต่อระดับปริญญาตรีในสาขาวิชาของตนเป็นครั้งแรก เช่น สาขาวิชาผ้าและเครื่องแต่งกาย สาขาวิชาอาหารและโภชนาการ สาขาวิชาพัฒนาการครอบครัวและเด็ก และสาขาวิชาคหกรรมศาสตร์ศึกษา เป็นต้น
หลังจากมีคณะคหกรรมศาสตร์ในปี พ.ศ. 2518 แล้ว ต่อมาอีก 13 ปี หรือในปี พ.ศ. 2531 รองศาสตราจารย์อัมพิกา นพสุวรรณ ผู้อำนวยการสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตพระนครใต้ ในช่วงเวลานั้น เห็นว่าวิทยาเขตพระนครใต้มีความพร้อมในด้านบุคลากร อุปกรณ์เครื่องมือ และห้องปฏิบัติการ จึงได้เปิดสอนระดับปริญญาขึ้นเป็นครั้งแรก ในสาขาวิชาคหกรรมศาสตร์ วิชาเอกอาหารและโภชนาการ–พัฒนาผลิตภัณฑ์ เพื่อขยายโอกาสทางการศึกษาระดับปริญญาตรีให้กว้างขวางขึ้นและเพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดแรงงานด้านการ พัฒนา ผลิต และบริการอาหาร โดยรับนักศึกษาครั้งแรกจำนวนทั้งสิ้น 14 คน เรียกว่า ”นักศึกษา PD” ตามชื่อสาขา คือ พัฒนาผลิตภัณฑ์ (Product Development, PD)
เดือนมีนาคม พ.ศ. 2533 นักศึกษา PD รุ่นที่ 1 ทุกคน (14 คน) สำเร็จการศึกษา และได้้เข้ารับพระราชทานปริญญาบัตร นับเป็นบัณฑิตรุ่นแรกของสาขาพัฒนาผลิตภัณฑ์และรุ่นแรกของวิทยาเขตพระนครใต้ ซึ่งบัณฑิต PD รุ่นที่ 1 นี้มีความสำเร็จในชีวิตหน้าที่การงานเป็นที่น่าพอใจ โดยเฉพาะในด้านอุตสาหกรรมอาหาร การบริการอาหาร และด้านโภชนาการ โดยบัณฑิต PD ได้รับการยอมรับอย่างดีมาก และเป็นแบบอย่างที่ดีให้บัณฑิต PD รุ่นต่อๆ มาได้เจริญรอยตาม ซึ่งแต่ละรุ่นต่างก็ประสบความสำเร็จ เป็นที่ชื่นชมและภูมิใจร่วมกันของชาว PD ทุกคน
ในปี พ.ศ. 2542 สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตพระนครใต้ ได้เปิดสอนสาขาพัฒนาผลิตภัณฑ์ หลักสูตร 4 ปีเพิ่มเติมจากหลักสูตร 2 ปีต่อเนื่องที่เปิดอยู่แล้ว เพื่อขยายโอกาสทางการศึกษาให้แก่ผู้ที่จบมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 6 และผู้ที่จบประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) และเพื่อตอบสนองความต้องการของภาคอุตสาหกรรมอาหารทั้งด้านการผลิตและบริการที่มีการขยายตัวอย่างรวดเร็วและกว้างขวาง นับตั้งแต่ พ.ศ. 2542 เป็นต้นมา จึงมี “นักศึกษา PD” 2 หลักสูตร คือ (1) หลักสูตร 4 ปี และ (2) หลักสูตร 2 ปีต่อเนื่อง โดยนักศึกษาใหม่หลักสูตร 2 ปีต่อเนื่อง (เริ่มเรียนชั้นปีที่ 3) นับรุ่นเป็น PD 12 (ระบบใหม่เรียก PD42(2)) ส่วนนักศึกษาใหม่หลักสูตร 4 ปี (เริ่มเรียนชั้นปีที่ 1) นับรุ่นเป็น PD14 (ระบบใหม่เรียก PD42 ตามปี พ.ศ. ที่เข้าเรียน)
กาลต่อมาในปี พ.ศ. 2548 ได้มีการรวมวิทยาเขตพระนครใต้ วิทยาเขตเทคนิคกรุงเทพฯ และวิทยาเขตบพิตรพิมุข มหาเมฆ ของสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล เข้าด้วยกันเป็น "มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ" และก่อตั้ง "คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์" ขึ้นแทนที่วิทยาเขตพระนครใต้ ซึ่งสาขาพัฒนาผลิตภัณฑ์ก็ยังดำเนินต่อไปในฐานะสาขาวิชาหนึ่งของภาควิชาเทคโนโลยีการอาหารและโภชนาการ และมีชื่อใหม่ว่า “สาขาวิชาการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร” ซึ่งชื่อ "วิทยาเขตพระนครใต้" ได้กลายเป็น "คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์" และชื่อ "สาขาพัฒนาผลิตภัณฑ์" ก็กลายเป็น "สาขาวิชาการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร" ในปี พ.ศ. 2548 นี้
ในปี พ.ศ. 2551 มีเหตุการณ์สำคัญทั้งสิ้น 2 เหตุการณ์ กล่าวคือ
(1) งดรับนักศึกษาหลักสูตร คศ.บ. 2 ปีต่อเนื่อง และหลักสูตร คศ.บ. 4 ปี เพื่อจะปิดหลักสูตรทั้งสองนี้ดังนั้น เมื่อนักศึกษาสำเร็จการศึกษาครบทุกคนแล้ว นักศึกษารุ่นที่ 20 (PD50(2)) จึงเป็น “นักศึกษา PD” หลักสูตร คศ.บ. 2 ปีต่อเนื่องรุ่นสุดท้าย และนักศึกษารุ่นที่ 22 (PD50) ก็กลายเป็น “นักศึกษา PD” หลักสูตร คศ.บ. 4 ปี รุ่นสุดท้ายเช่นเดียวกัน
(2) เปิดสอนหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.) สาขาวิชาการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร เป็นหลักสูตรการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารโดยเอกเทศ โดยไม่ได้เป็น “Option หนึ่ง” ของสาขาอาหารและโภชนาการ เหมือนในช่วงที่ผ่านมา ซึ่งนักศึกษา PD รุ่นที่ 23 (PD51) เป็นต้นไปจะได้วุฒิการศึกษา วท.บ. (การพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร)
PD1–20 หลักสูตร 2 ปีต่อเนื่อง (ระบบใหม่เรียก PD31(2) ถึง PD50(2)) และ PD14–22 หลักสูตร 4 ปี (ระบบใหม่เรียก PD42 ถึง PD50) รวม 22 รุ่น เรียนในหลักสูตร คศ.บ. วิชาเอกอาหารและโภชนาการ–พัฒนาผลิตภัณฑ์ ซึ่งเรียนวิชาหลักเหมือนวิชาเอกอาหารและโภชนาการ แต่ได้เพิ่มเติมวิชาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร การพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร เข้าไปจึงสามารถทำงานได้ทั้งด้านอาหาร ด้านโภชนาการ และด้านอุตสาหกรรมอาหาร ซึ่งในการทำงาน PD1–22 ทุกคนใช้ความเป็นบัณฑิตด้านคหกรรมศาสตร์เป็นพื้นฐาน สมกับชื่อ “คหกรรมศาสตรบัณฑิต” แล้วจึงต่อยอดออกไปเป็นด้านอาหาร ด้านโภชนาการ หรือด้านอุตสาหกรรมอาหาร แล้วแต่ใครจะถนัดหรือเลือกในด้านใด ซึ่งในช่วงเวลาที่ผ่านมา สามารถกล่าวได้โดยมีหลักฐานเชิงประจักษ์ว่า “นักศึกษา PD1–22” จำนวนมากมายที่ประสบความสำเร็จในด้านอาหาร ในด้านโภชนาการ และในด้านอุตสาหกรรมอาหาร (การผลิต การควบคุมคุณภาพ การวิจัยและพัฒนา)
ในปีนี้ พ.ศ. 2558 การเปิดสอนสาขาพัฒนาผลิตภัณฑ์ดำเนินมาถึงปีที่ 28 แล้ว ซึ่งได้ผลิตบัณฑิตพัฒนาผลิตภัณฑ์ไปแล้วเป็นจำนวน 26 รุ่น หรือประมาณ 1,200 คน มีอาจารย์ประจำสาขาทั้งสิ้น 11 คน นักศึกษาทั้งหมด 322 คน ประกอบด้วยนักศึกษาชั้นปีที่ 4 จำนวน 46 คน, ชั้นปีที่ 3 จำนวน 54 คน, ชั้นปีที่ 2 จำนวน 96 คน, และชั้นปีที่ 1 จำนวน 126 คน ซึ่งศิษย์เก่า–นักศึกษา–อาจารย์ ทั้งหมดนี้จักได้ร่วมกันสรรสร้างพัฒนาสาขาวิชาการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร และคณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ให้ก้าวหน้าและเจริญรุ่งเรืองยิ่งๆ ขึ้นไป

OTHER PLACES NEAR สาขาวิชาการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ

Show more »