วัดลำนารายณ์ ลพบุรี 5.08

4.5 star(s) from 317 votes
๖๐๓ หมู่ ๕ ต.ลำนารายณ์ อ.ชัยบาดาล จ.ลพบุรี
Lamnarai, ๑๕๑๓๐
Thailand

About วัดลำนารายณ์ ลพบุรี

วัดลำนารายณ์ ลพบุรี วัดลำนารายณ์ ลพบุรี is a well known place listed as Buddhist Temple in Lamnarai , Church/religious Organization in Lamnarai ,

Contact Details & Working Hours

Details

ประวัติวัดลำนารายณ์ โดยสังเขป
วัดลำนารายณ์ เลขที่ ๖๐๓ หมู่ที่ ๕ ต.ลำนารายณ์ อ.ชัยบาดาล จ.ลพบุรี สร้างขึ้นเมื่อ วันเสาร์ ที่ ๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๐๗ ตรงกับแรม ๓ ค่ำ เดือน ๓ ปีมะโรง โดยย้ายมาจากวัดอุดมสันติวรรณในปัจจุบัน โดยประชาชนชาวลำนารายณ์ช่วยกันบริจาคซื้อที่ดินจำนวน ๓๖ ไร่ ๓ งาน ๔๐ ตารางวา อยู่ติดถนนสุรนารายณ์ ต่อมาได้ซื้อที่ดินเพิ่มอีก รวมปัจจุบันมีเนื้อที่จำนวน ๓๙ ไร่ ๒ งาน ๒๒ ตารางวา
ได้เริ่มพัฒนามาเลื่อยๆ ทั้งบุคคล และเสนาสนะ ได้ตั้งโรงเรียนพระปริยัติธรรมเมื่อ พ.ศ.๒๕๑๕ มีการเรียนการสอนนักธรรม บาลี ศึกษาผู้ใหญ่ สอนนักธรรมชั้น ตรี, โท, เอก บาลี ป.ธ. ๑-๒, ๓, ๗ และศึกษาผู้ใหญ่ระดับ ๓ – ๔ ต่อมาเมื่อปี พ.ศ.๒๕๔๒ ได้เปลี่ยนศึกษาผู้ใหญ่มาเป็นสายสามัญ ม.๑ – ม.๖ จนถึงปัจจุบัน ส่วนบาลี นักธรรม เหมือนเดิม และเพิ่มธรรมศึกษา ตรี, โท, เอก มีนักเรียนจากโรงเรียนต่างๆ มาสมัครสอบปีละ ๑,๐๐๐ – ๒,๐๐๐ คน ส่วนพระภิกษุ-สามเณร แต่ละปีจะมีพระภิกษุ-สามเณรมาอยู่จำพรรษาเรียนพระปริยัติธรรมปีละ ๑๒๐ – ๑๙๐ รูป ในพรรษานี้ พ.ศ.๒๕๕๔ มีพระภิกษุจำนวน ๔๓ รูป สามเณรจำนวน ๑๑๓ รูป รวมทั้งหมด ๑๕๖ รูป
ด้านเสนาสนะถาวรวัตถุ ได้ปรับปรุงพื้นที่บริเวณวัดโดยการถมดิน (ดินทรายขี้เป็ด, หินผุ, หินลูกรัง) รวมประมาณ ๑๕,๐๐๐ รถสิบล้อ กุฏิใหญ่รวมเป็นคณะมีจำนวน ๘ หลัง แต่ละหลังมีพระภิกษุ-สามเณรอยู่ได้หลังละ ๑๕ – ๓๐ รูป และกุฏิกรรฐานอีกจำนวน ๒๙ หลัง ห้องสุขาตามกุฏิ และสาธารณะอีกรวม ๒๒๕ ห้อง ศาลาอบรมศีลธรรม ๑ หลัง ศาลาการเปรียญ ๒ ชั้น ๑ หลัง ศาลาธรรมสังเวช ๔ หลัง ศาลาบำเพ็ญบุญ ๑ หลัง อาคารพิพิธภัณฑ์ ๑ หลัง เมรุไล้มลภาวะ ๒ เตาเผา ๑ หลัง อาคารสำนักงานเจ้าคณะอำเภอชัยบาดาล ๒ ชั้น ๑ หลัง ถนนคอนกรีต กว้าง ๕ เมตร ยาว ๒๕๐ เมตร ๑ เส้น ถนนลาดยางมะตอย กว้าง ๔ – ๕ เมตร ยาว ๔๕๐ เมตร ๑ เส้น เจดีย์กตัญญูรวมญาติ ๑ องค์ และ โบสถ์ ๑ หลัง รวมเสนาสนะสิ่งปลูกสร้างเป็นเงินงบประมาณทั้งสิ้นประมาณ ๕๐ ล้านบาท
ประวัติเจดีย์กตัญญูรวมญาติ
เจดีย์กตัญญูรวมญาติ วางผังก่อสร้างเมื่อ วันพุธ ที่ ๑๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๐ ตรงกับขึ้น ๖ ค่ำ เดือน ๓ ปีฉลู เวลา ๐๖.๔๙ น. แล้วก็ดำเนินการก่อสร้างมาเลื่อยๆ ไม่ได้หยุด จนสร้างแล้วเสร็จสมบูรณ์เมื่อปี พ.ศ.๒๕๔๕ ใช้เวลาก่อสร้าง ๕ ปี ใช้งบประมาณ ๑๒,๗๕๙,๕๐๐ บาท (สิบสองล้านเจ็ดแสนห้าหมื่นเก้าพันห้าร้อยบาทถ้วน) งบประมาณทั้งหมดได้มาจากประชาชนชาวลำนารายณ์
ขนาดของเจดีย์กตัญญูรวมญาติ ฐานกว้าง ๑๕ เมตร ยาว ๑๕ เมตร = ๑๕x๑๕ เมตร สูง ๓๒ เมตร ๕ ชั้น สร้างด้วยภายในองค์เจดีย์ฯ คอนกรีตเสริมเหล็ก จากฐานถึงยอดลวดลายภายนอกสร้างด้วยเซรามิคเคลือบเงา (กระเบื้องอย่างดี) จากโรงงานเด่นสยาม จ.จันทร์บุรี
พระครูบุญบาลประดิษฐ์ (พระอาจารย์ทองใบ เตชปุญฺโญ) ออกแบบเขียนแปลน และควบคุมการก่อสร้าง นายไพโรจน์ เกตุแก้ว (ช่างป้อม) และ นางกุหลาบ เกตุแก้ว คู่สามีภรรยาเป็นหัวหน้าช่าง มีคนงาน ๕ – ๗ คน งานขุดดินผูกเหล็ก และเทปูนจากฐานถึงยอดเจดีย์ฯ แรงงานพระภิกษุ-สามเณร วัดลำนารายณ์ช่วยก่อสร้างเป็นองค์เจดีย์ฯปูนเสริมเหล็กจากฐานถึงยอดใช้ระยะเวลาจาก พ.ศ.๒๕๔๐ – ๒๕๔๓ รวม ๓ ปี ส่วนการตกแต่งลวดลายประดับต่างๆ มีช่างจากบริษัทเด่นสยาม จ.จันทร์บุรี จำนวน ๔ – ๕ คน มาติดลวดลายเซรามิค (กระเบื้องอย่างดี) มาติดจากปี พ.ศ.๒๕๔๓ – ๒๕๔๕ รวม ๒ ปี แล้วเสร็จรวมเวลาการก่อสร้างเจดีย์กตัญญูรวมญาติ ๕ ปี
โดยความหมายรายละเอียดเจดีย์ฯ มีดังนี้
๑. ชื่อเจดีย์กตัญญูรวมญาติ หมายถึง เป็นศาสนะวัตถุถาวรอันศักดิ์สิทธิ์ประจำวัด หรือที่ประดิษฐานของศักดิ์สิทธิ์ ของมีค่าจากฐานถึงยอดองค์เจดีย์ฯ เป็นอนุสรณ์การมีศรัทธาเสียสละของ พ่อ-แม่, ปู่-ย่า, ตา-ยาย ของคนลำนารายณ์ที่มีต่อพระพุทธศาสนา คำว่า เจดีย์กตัญญูเอามาจากคำว่า อนุสาวรีย์ คือที่บรรจุอัฐิธาตุของบรรพบุรุษ รวมญาติ หมายความว่า แต่ละปีมีเทศกาลสงกรานต์ประจำทุกปี ให้ญาติพี่น้องมารวมกันทำบุญบังสุกุลอุทิศให้ปู่-ย่า, ตา-ยาย และญาติๆ ที่ได้เสียชีวิตไปแล้ว และนำอัฐิมาบรรจุไว้ฐานเจดีย์กตัญญูรวมญาติ และพบกันกับญาติๆ วันกตัญญูสงกรานต์ของทุกปี เป็นอุบายการรักษาจารีตประเพณีและวัฒนธรรมอันดีของชาติไทยเอาไว้ และได้รักษาความสามัคคีเพื่อให้ลูกหลานมีความกตัญญูกตเวที ต่อบรรพบุรุษให้มั่นคงตลอดไป
๒. เจดีย์กตัญญูรวมญาติ จากฐานล่างถึงยอดมีความสูง ๓๒ เมตร หมายถึง อาการ ๓๒ ของมนุษย์ หรือธรรมสังคินี ที่พระสวดเวลามีคนตาย ก่อนนำศพไปเผาต้องสวดธรรมสังคินี
๓๒ เมตร ถ้าคิดเป็นศอกก็จะได้ ๖๔ ศอก ซึ่งเท่ากับคำว่าธัมมา ทั้งหมดมี ๖๔ คำพอดี โดยแบ่งองค์เจดีย์กตัญญูรวมญาติออกเป็น ๕ ชั้น เป็นปรางค์สี่เหลี่ยมศิลปะสี่ตระกูลช่าง
โดยชั้นล่าง (ชั้นที่ ๑) บรรจุอัฐิธาตุของประชาชน ช่องขนาด ๕๐x๕๐ ซ.ม. จำนวน ๑,๒๘๐ ช่อง บรรจุดโกฏิใส่อัฐิได้ช่องละ ๙ อัน หรือ ๙ คน ของอัฐิผู้เสียชีวิตเรียกว่า สุสาน
ชั้นที่ ๒ ประดิษฐานซุ้มมณฑป ๑๒ ซุ้ม ประดิษฐานเทพประจำปีเกิดของมนุษย์ เรียกว่า ๑๒ ราศีประจำ ปีเกิด คือ ชวด – ฉลู – ขาด – เถาะ – มะโรง – มะเส็ง – มะเมีย – วอก – ระกา – จอ – กุน ภายในองค์เจดีย์ฯ ประดิษฐาน พระพุทธรูป และรอยพระพุทธบาทจำลอง ชั้นนี้เรียกว่า ๑๒ ราศี สี่ตระกูลช่าง หมายถึง สร้างด้วยศิลปะของล้านนา ด้านทิศเหนือ ศิลปะของล้านนา ทิศตะวันออก ศิลปะขอม ทิศใต้ ศิลปะไทย และ ทิศตะวันตก ศิลปะจีน ทั้งสี่ทิศมีความหมายว่า ประเทศไทยในปัจจุบันนี้ เคยมีชนชาติมาอยู่อาศัย ๔ เผ่าคือ ชนชาติลาวลานนา ๓,๐๐๐ ปี ชนชาติขอม-เขมร ๒,๐๐๐ ปี ชนชาติไทย ๑,๐๐๐ ปี และชนชาติจีน ๕๓๐ ปี ชั้นที่ ๓ ประดิษฐานพระอรหันต์ ๘ ทิศ คือ พระสาวกผู้ใหญ่ที่สำคัญได้แก่ ๑. พระอัญญาโกณฑัญญะ ๒. มหากัสสปะ ๓. พระสารีบุตร ๔. พระอุบาลี ๕. พระอานนท์ ๖. พระควัมปติ ๗. พระโมคคัลลานะ ๘. พระราหุล
ชั้นที่ ๔ ประดิษฐานพระพุทธเจ้า ๕ พระองค์ คือ ๑. พระพุทธเจ้ากกุสันโธ ๒. พระพุทธเจ้าโกนาคมโน ๓. พระพุทธเจ้ากัสสโป ๔. พระพุทธเจ้าโคตะโม ๕. พระศรีอริยะเมตไตร แต่ยังไม่ได้ตรัสรู้ ยังเป็นพระโพธิสัตย์อยู่ในปัจจุบัน สถิตอยู่สรวงสวรรค์ชั้นดุสิทกาเทวโลก ได้นำรูปพระองค์ประดิษฐานไว้ในเจดีย์ฯ ส่วนพระพุทธเจ้าที่ตรัสรู้แล้วประดิษฐานอยู่ด้านนอก รวมชั้น ๒ – ๔ นี้เรียกว่าวิหาร
ชั้นที่ ๕ ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุของพระปัจเจกพุทธเจ้าได้มาจากถ้ำผาสวรรค์ จังหวัดเลย เริ่มแรกได้มา ๙ องค์ ต่อมาเพิ่มอีก ๕ องค์ รวมเป็น ๑๔ องค์ มีความศักดิ์สิทธิ์มาก มีเทวดารักษาตลอด บนยอดเจดีย์กตัญญูรวมญาติปลายยอดเจดีย์ฯ ติดทองคำ ๑๐๐% น้ำหนัก ๒๔ บาทไว้บนฉัตร ๙ ชั้น ชั้นที่ ๕ นี้ เรียกว่าเจดีย์ แบ่งเรียกชื่อตามของบรรจุประดิษฐาน จะต้องเรียกอย่างนี้ คือ
ชั้นที่ ๑ บรรจุอัฐิธาตุของบรรพชนทั่วไปเรียกว่า สุสาน
ชั้นที่ ๒ – ๔ ประดิษฐานพระพุทธรูป และของศักดิ์สิทธิ์เรียกว่า วิหาร
ชั้นที่ ๕ บรรจุประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ และของมีค่าเรียกว่า เจดีย์
เมื่อรวมทั้งองค์จึงให้เรียกว่าเจดีย์กตัญญูรวมญาติ
สรุปการก่อสร้างวัดลำนารายณ์ เมื่อวันที่ ๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๐๗ อายุของวัดลำนารายณ์ได้ ๔๗ ปี (พ.ศ.๒๕๕๔) ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา (โบสถ์) เมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๖ ได้รับเกียรติบัตรประกาศให้เป็นวัดพัฒนาตัวอย่างดีเด่นของจังหวัดลพบุรี เมื่อปี พ.ศ.๒๕๓๒ ของกรมการศาสนา และกระทรวงศึกษาธิการ มีพระภิกษุ-สามเณรมาศึกษาเล่าเรียนจนจบ นักธรรมชั้น ตรี, โท, เอก และมหาเปรียญ รวมทั้งสายสามัญตั้งแต่ ม.๑ – ม.๖ และปริญญาตรี – โท – เอก ประมาณ ๒,๕๐๐ รูป
สิ้นค่าก่อสร้างเสนาสนะถาวรวัตถุประมาณ ๕๐ ล้านบาท มีเจ้าอาวาสมาแล้ว ๒ รูป คือ
๑. พระอาจารย์มหาทองสุข ติกฺขญาโณ ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๐๗ ถึง ๒๕๑๙ รวม ๑๒ ปี
๒. พระครูบุญบาลประดิษฐ์ (พระอาจารย์ทองใบ เตชปุญฺโญ) ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๒๔ ถึง ปัจจุบัน
กิจวัตรประจำวันพระภิกษุ-สามเณร
๑. ทำวัตรสวดมนต์เช้า และเย็น ตลอดทั้งปี
๒. ลงสังฆกรรมอุโบสถฟังพระปาฎิโมกข์ตลอดทุกฤดูกาล ทั้งในพรรษและนอกพรรษา
๓. จัดกิจกรรมทำบุญวันสำคัญ เช่น วันพระ และวันสำคัญทางพุทธศาสนา วันเฉลิมพระชนมพรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ และสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ และจัดปฏิบัติธรรมประจำปี จัดอบรมศีลธรรมแก่นักเรียนตลอด
ด้านถาวรวัตถุเสนาสนะสิ่งที่จำเป็น ของศักดิ์สิทธิ์ควรบูชาสักการะเยี่ยมชม ที่มีอยู่ในวัดลำนารายณ์ คือ
๑. พระพุทธรูปทองเหลืององค์ใหญ่ประธานในโบสถ์
๒. เจดีย์กตัญญูรวมญาติ
๓. พระพุทธรูปปรางค์นาคปรกประดิษฐานอยู่บนเขาแก้วเกาะบาดาล
๔. พิพิธภัณฑ์ลูกปัดโบราณ ยุคทวารวดีลุ่มแม่น้ำป่าสัก และองค์ท้าวกุเวร เทพผู้ให้ความสำเร็จร่ำรวย
๕. พระพุทธรูปประจำวันเกิด ๗ วัน ประดิษฐานอยู่ทิศเหนือของโบสถ์

พระครูบุญบาลประดิษฐ์ เจ้าอาวาสวัดลำนารายณ์ ผู้ให้ข้อมูล