คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร 5.43

4.7 star(s) from 76 votes
คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
Muang Phitsanulok, 65000
Thailand

About คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร is a well known place listed as Education in Muang Phitsanulok ,

Contact Details & Working Hours

Details

แนะนำคณะวิทยาศาสตร์
มหาวิทยาลัยนเรศวร เดิมคือวิทยาลัยวิชาการศึกษาพิษณุโลก เป็นวิทยาเขตหนึ่งของวิทยาลัยวิชาการศึกษา ประสานมิตร ได้ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2510 พร้อมกับการจัดตั้ง คณะวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์เปิดสอนหลักสูตรปริญญาการศึกษาบัณฑิต(กศ.บ.) 5 สาขาวิชา คือ คณิตศาสตร์ ชีววิทยา ฟิสิกส์ เคมีและวิทยาศาสตร์ทั่วไป

ในปีพ.ศ. 2517 วิทยาลัยวิชาการศึกษาได้รับการยกฐานะเป็นมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ดังนั้นวิทยาลัยวิชาการศึกษาพิษณุโลกจึงเปลี่ยนชื่อเป็นมหาวิทยาลัย ศรีนครินทรวิโรฒพิษณุโลก ต่อมาได้เปิดหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิตในสาขาวิชาต่างๆ ดังนี้ สาขาวิชาคณิตศาสตร์ ในปี พ.ศ. 2522 สาขาวิชาฟิสิกส์ ในปี พ.ศ. 2523 สาขาวิชาชีววิทยา ในปี พ.ศ. 2524 และ สาขาวิชาเคมี ในปี พ.ศ. 2530

มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ พิษณุโลก ได้รับการยกฐานะเป็นมหาวิทยาลัยนเรศวรเมื่อ วันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2533 คณะวิทยาศาสตร์จึงได้รับการจัดตั้งตาม พรบ.มหาวิทยาลัยนเรศวร ฉบับ พ.ศ. 2533 เป็นต้นมา และได้เปิด หลักสูตรระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอกเพิ่มเติมดังต่อไปนี้

พ.ศ. 2536 เปิดสอนหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิตสาขาวิชาจุลชีววิทยา ปัจจุบันหลักสูตรนี้ได้ย้ายไปสังกัดคณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ และเปิดหลักสูตรปริญญาโทการศึกษามหาบัณฑิตร่วมกับคณะศึกษาศาสตร์ คือ สาขาวิชาคณิตศาสตร์ และสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ศึกษา เน้น วิชาเคมี ชีววิทยา หรือ ฟิสิกส์

พ.ศ. 2537 เปิดสอนหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ และสาขาวิชาสถิติ

พ.ศ. 2540 เปิดสอนหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาชีววิทยา (วท.ม.ชีววิทยา)

พ.ศ. 2544 เปิดสอนหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ (วท.ม.เทคโนโลยีสารสนเทศ) สาขาวิชาคณิตศาสตร์ (วทม.คณิตศาสตร์) และสาขาวิชาเคมี (วท.ม.เคมี)

พ.ศ. 2545 เปิดสอนหลักสูตรปริญญโท และปริญญาเอก หลายสาขาวิชาดังนี้คือ หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสถิติประยุกต์ (วท.ม. สถิติประยุกต์) สาขาวิชาฟิสิกส์ประยุกต์ (วท.ม. ฟิสิกส์ประยุกต์) สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ (วท.ม.วิทยาการคอมพิวเตอร์) สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ (วท.ม.วิทยาศาสตร์ชีวภาพ) หลักสูตรวิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ (วท.ด. วิทยาศาสตร์ชีวภาพ) สาขาวิชาคณิตศาสตร์ (วท.ด. คณิตศาสตร์)

พ.ศ. 2546 เปิดหลักสูตรวิทยาศาสตร์บัณฑิต สาขาวิชาระบบสารสนเทศ (วท.บ.ระบบสารสนเทศ) และหลักสูตรวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตรสนเทศ (วท.ม. วิทยาศาสตร์สนเทศ)

พ.ศ. 2547 แยกภาควิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ ออกจากภาควิชาคณิตศาสตร์ และเปิดหลักสูตร วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ และวิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ และ หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาฟิสิกส์ประยุกต์

พ.ศ. 2548 เปิดหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาเคมีอุตสาหกรรม และวิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาเคมี เพื่อเปิดการเรียนการสอนในปีการศึกษา 2549

ปัจจุบันคณะวิทยาศาสตร์ประกอบไปด้วย 5 ภาควิชา คือ
ภาควิชาคณิตศาสตร์
ภาควิชาเคมี
ภาควิชาชีววิทยา
ภาควิชาฟิสิกส์
ภาควิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ



" วิทยาศาสตร์สร้างปัญญา "



คณะวิทยาศาสตร์มุ่งมั่นพัฒนาบุคคลให้มีความรอบรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี
โดยเน้นความเป็นเลิศทางวิชาการ สามารถวิเคราะห์และแก้ไขปัญหา มีคุณธรรมและจริยธรรม
พร้อมที่จะนำความรู้ไปใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศชาติและสังคม



คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร เป็นคณะแห่งการวิจัย สร้างนวัตกรรม นำพาสังคมสู่การเรียนรู้ และผลิตบัณฑิตชั้นนำของประเทศ



1. ผลิตบัณฑิตด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี ที่มีคุณภาพ มีคุณธรรม
จริยธรรม เพื่อตอบสนองความต้องการของประเทศ
2. ค้นคว้าและวิจัย ทางด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี ทั้งด้านพื้นฐานและ
ประยุกต์เพื่อไปใช้พัฒนาประเทศ
3. บริการทางวิชาการด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี แก่ชุมชนและสังคม
4. ทำนุบำรุงศาสนา สืบสานศิลปวัฒนธรรมและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
5. พัฒนาระบบการบริหารจัดการภายในองค์กรให้มีประสิทธิภาพ



S = Service Mind จิตอาสา
C = Collaboration ความร่วมมือและการทำงานเป็นทีม
I = Integrity คุณธรรม จริยธรรม
N = Novel การสร้างสรรค์และนวัตกรรมใหม่
U = Unity เอกภาพ สามัคคี



สมรรถนะหลัก ของคณะวิทยาศาสตร์ คือ การผลิตบัณฑิตและงานวิจัยสาขาคณิตศาสตร์และฟิสิกส์




ระยะเริ่มต้น
การพัฒนาวิชาการในด้าน กระบวนการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางด้านการ วัดผล/ประเมินผล และการเพิ่มพูนความรู้ในการออกไปประกอบอาชีพการทำฐานข้อมูลด้านธุรการ การเงิน ครุภัณฑ์ เพื่อประโยชน์ในการบริหาร การทำฐานข้อมูลด้านวิชาการ แผนการเรียน เนื้อหารายวิชาที่เป็นพื้นฐานและวิชาเฉพาะเพื่อเข้าสู่ระบบ e-Learning การทำ Website ของภาควิชาและคณะเป็นภาษาอังกฤษ เพื่อความเป็นสากล
ประชุมอาจารย์ ข้าราชการ เจ้าหน้าที่ เพื่อรับฟังข้อคิดเห็น และมีส่วนร่วมในการ เสนอแนะ การทำงานและการบริหารคณะ
การจัดทำข่าวสารการทำงานของภาควิชา/คณะ และการออกวารสารทางวิชาการของคณะ
พัฒนาด้านสุขภาพของอาจารย์ ข้าราชการ พนักงาน และนิสิต
พัฒนาอาจารย์ ข้าราชการ พนักงาน ด้านการศึกษา อบรม วิจัย เสนอผลงานขอตำแหน่งวิชาการ
จัดตั้งหน่วยผลิตและบริการ เอกสาร/ตำรา สื่อ ฯลฯ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนการสอน
พัฒนาหน่วยงานของคณะ ในด้านธุรการ การบริหาร การดำเนินการ ฯลฯ ให้พร้อมเพื่อนำไปสู่การเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับรัฐบาล
ระยะกลาง
หลักสูตรปริญญาโท-เอกสาขาวิชาต่างๆ ทั้งหลักสูตรพื้นฐาน/ประยุกต์ มีการประเมินและพัฒนาหลักสูตรเดิมอย่างต่อเนื่อง
การจัดตั้งห้องอ่านหนังสือ/ห้องสมุดและ ฐานข้อมูลวิชาการทางวิทยาศาสตร์ เพื่อพัฒนาทางด้านวิชาการแก่นิสิตอาจารย์ และนักวิจัย
การจัด Internet ให้นิสิตทุกภาควิชาอย่างเพียงพอเพื่อการศึกษาในระบบ e-Learning
การทดสอบความรู้ในวิชาเอก โดยใช้ข้อสอบมาตรฐาน
ปรับปรุงภูมิทัศน์ และสภาพแวดล้อมของภาควิชา/คณะ ให้สวยงามร่มรื่นเป็นที่พักผ่อนสังสรรค์
การเชิดชูบุคคลดีเด่นของคณะ บุคคลดีเด่นทางวิจัย
การร่วมมือด้านวิชาการ การวิจัยกับสถาบัน/ องค์กรทั้งภายในและนอกประเทศ เพื่อเข้าสู่ความเป็นสากล
ระยะยาว
จัดตั้งศูนย์เครื่องมือวิทยาศาสตร์ เพื่อการศึกษา การวิจัยและการบริการ
จัดตั้งพิพิธภัณฑ์/ศูนย์วิทยาการวิทยา ศาสตร์ เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ของนิสิต และบริการวิชาการแก่ชุมชน
จัดตั้งหอดูดาว การเรียนการสอนและการวิจัยของนิสิต/นักศึกษาอาจารย์ นักวิจัย ทั้งในและนอกประเทศ และเพื่อบริการวิทยาการแก่ชุมชน