วัดศาลาลอย พระอารามหลวง ตำบลในเมือง อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ 1.33

๔๙๐ ถนนหลักเมือง
Surin, ๓๒๐๐๐
Thailand

About วัดศาลาลอย พระอารามหลวง ตำบลในเมือง อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์

วัดศาลาลอย พระอารามหลวง  ตำบลในเมือง อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ วัดศาลาลอย พระอารามหลวง ตำบลในเมือง อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ is a well known place listed as Religious Center in Surin , Other in Surin , Religious Organization in Surin ,

Contact Details & Working Hours

Details

ที่ตั้ง
วัดศาลาลอย ตั้งอยู่เลขที่ ๔๙๐ ถนนหลักเมือง ตำบลในเมือง อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย เนื้อที่ตั้งวัด ๑๒ ไร่ ๓ งาน ๘๓ ตารางวา
โฉนดที่ดินเลขที่ ๓๐๓๙ ตั้งอยู่ภายในกำแพงเมืองชั้นนอกด้านตะวันออก ปัจจุบันมี “ พระธรรมโมลี “ (ดร.พระมหาทองอยู่ ญาณวิสุทฺโธ พิศลืม น.ธ.เอก,ป.ธ. ๙, พ.ม.,พธ.บ. , M.A.,Ph.D.) ที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค ๑๑ เป็นเจ้าอาวาส
อาณาเขต
- ทิศเหนือติดกับถนนวิภัชนุสรณ์
- ทิศไต้ติดกับที่ดินเอกชน หนองโตนดและถนนหลักเมือง
- ทิศตะวันออกติดกับถนนเทศบาล ๔
- ทิศตะวันตกติดกับถนนเทศบาล ๒
ความเป็นมา
วัดศาลาลอย เป็นวัดเก่าแก่วัดหนึ่งในตัวเมืองจังหวัดสุรินทร์ ก่อสร้างเมื่อใด ใครสร้างปรารภอะไรจึงสร้างไว้ ไม่มีข้อมูลทางประวัติศาสตร์ ที่พอเป็นหลักฐานได้ แต่จากการบอกเล่าของคนรุ่นก่อน ๆ และเล่าสืบทอดกันต่อ ๆมา พอเรียบเรียงความได้ดังนี้
วัดศาลาลอยเป็นวัดโบราณ สร้างมานานแล้ว อายุไม่ต่ำกว่าร้อยปี จากประวัติเมืองสุรินทร์บันทึกไว้ว่า พระยาสุรินทร์ภักดีศรีไผทสมันต์ (สุ่น) เจ้าเมืองคนที่ ๔ ครองเมืองสุรินทร์เมื่อปีมะแม จุลศักราช ๑๑๗๒ พุทธศักราช ๒๓๔๕ รัตนโกสินทร์ศก ๓๐ ถึงปีกุน จุลศักราช ๑๒๑๓ พุทธศักราช ๒๓๙๔ รัตนโกสินทร์ศก ๗๐ ภรรยาของท่านเจ้าเมืองคือนางดาม พร้อมบุตรธิดาและบริวารประกอบอาชีพเกษตรกรรมบริเวณที่เรียกภาษาถิ่นว่า เวียลเวง (เวียล แปลว่า ทุ่ง, เวง แปลว่า ยาว, เวียลเวง แปลว่า ทุ่งยาว) ซึ่งอยู่นอกกำแพงเมืองด้านตะวันออกของวัด ในปัจจุบันนี้คือบริเวณที่ตั้งบ้านพักผู้พิพากษา โรงเรียนสิรินธร โรงเรียนสุรวิทยาคาร โรงเรียนอนุบาลสุรินทร์ โรงเรียนเมืองสุรินทร์ วิทยาลัยอาชีวศึกษาสุรินทร์ วิทยาลัยเทคนิคสุรินทร์ โรงพยาบาลสุรินทร์ และวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีนอกจากนี้นางดามพร้อมด้วยบุตรธิดาและบริวารยังประกอบอาชีพเกษตรกรรมประเภทไร่ ณ บริเวณสนามบิน แถวสนามกีฬาศรีณรงค์ในปัจจุบัน นางดามเป็นคนใจบุญ ค้ำจุนอุปถัมภ์วัดและถวายความอุปการะพระภิกษุสามเณรวัดศาลาลอยเป็นประจำ พร้อมกันนั้นก็ได้ฝากบุตรหลานและบริวารให้ดูแลบำรุงวัดตลอดมา

การปกครอง
วัดศาลาลอย มีเจ้าอาวาสปกครองดูแลพระภิกษุสามเณรติดต่อกันมาหลายรูป เท่าที่จดจำจากการเล่าสืบต่อกันมา มีดังนี้
- พระอธิการยุง ระหว่างปี ๒๔๔๕ อธิการเขมา ระหว่างปี ๒๔๘๔
- พระอธิการมี (กิม) ระหว่างปี ๒๔๖๐
- พระครูธรรมธัชวิมล (ดัน เจริญสุข) เจ้าคณะอำเภอ ระหว่างปี ๒๔๖๑ – ๒๔๘๕
- พระครูวิภัชกัลยาณธรรม (จันทร์ กลฺยาณมุตฺโต) เผยแผ่จังหวัดสุรินทร์ ระหว่างปี ๒๕๘๖ – ๒๕๑๘
- พระมหาสุรพงษ์ เตมิโย ป.ธ.๕, นักธรรมชั้นเอก ระหว่างปี ๒๕๑๙ – ๒๕๒๒
- พระธรรมโมลี (ดร.พระมหาทองอยู่ ญาณวิสุทฺโธ (พิศลืม) น.ธ. เอก, ป.ธ.๙ พ.ม, พ.ธ.บ, M.A,Ph.D.) ระหว่างปี ๒๕๒๓ - ๒๕๓๓ (ในขณะสมณะศักดิ์พระราชาคณะชั้นสามัญเปรียญ “ พระศรีธีรพงศ์ ” และ “ พระศรีธีรพงศ์ ” รักษาการเจ้าอาวาสวัดพระอารามหลวง เมื่อวันที่ ๑ เดือนตุลาคม ปี ๒๕๓๓
- เมื่อวันที่ ๔ เดือนตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๓๕ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปริณายกทรงมีพระบัญชาแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาส พระอารามหลวง โดยเจ้าประคุณ สมเด็จพุฒาจารย์ เจ้าคณะใหญ่หนตะวันออก เป็นผู้แทนพระองค์สมเด็จพระสังฆราชมอบพระบัญชาแต่งตั้ง (ปัจจุบัน “ พระศรีธีรพงศ์ “ ได้เลื่อนสมณะศักดิ์พระราชาคณะชั้นธรรม เป็น “ พระธรรมโมลี ” เมื่อวันที่ ๕ เดือนธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๘)
รายนามผู้ช่วยเจ้าอาวาสพระอารามหลวง วัดศาลาลอย จังหวัดสุรินทร์
๑. พระศรีวิสุทธิคุณ ดร. เจ้าคณะจังหวัดสุรินทร์
๒. พระครูสิริธรรมวรคุณ
๓. พระครูสิริธีรญาณ รองเจ้าคณะอำเภอสังขะ
๔. พระครูวิริยปัญญาภิวัฒน์
๕. พระครูปัญญาสุธรรมนิเทศก์ รองเจ้าคณะอำเภอบัวเชด
๖. พระมหาเกษมสันต์ กิตฺติปญฺโญ
๗. พระมหาบุญชอบ ปุญฺญสาทโร รองเจ้าคณะอำเภอสำโรงทาบ

การจัดการศึกษา
ก. การศึกษาพระปริยัติธรรม
วัดศาลาลอยได้เริ่มดำเนินการเรียนการสอนพระปริยัติธรรมแผนกธรรมมาช้านานแล้ว สำหรับแผนกบาลีได้เริ่มทำการเรียนการสอนเมื่อปีพุทธศักราช ๒๔๙๒ เป็นต้นมา การศึกษาทั้งสองแผนกคือธรรมกับบาลี ได้รับการสืบต่อกันเป็นช่วง ๆ ปรากฏว่ามีพระภิกษุสามเณรมีความรู้เข้าสอบนักธรรมได้ทั้งตรี โท เอก แผนกบาลีได้ส่งเข้าสอบสนามหลวงตั้งแต่ประโยค ๑ - ๒ ถึงประโยค ป.ธ.๙ รวมกันแล้วปีหนึ่ง ๆ ไม่ต่ำกว่า ๓๐ รูป และเป็นสำนักศาสนศึกษา แห่งเดียวที่มีนักเรียนสามารถสอบเปรียญธรรม ๙ ประโยคได้ในสนามหลวงเป็นรูปแรกของสำนักเรียนคณะจังหวัดสุรินทร์ การที่มีนักเรียนจำนวนมากเช่นนี้ และสอบได้มากทุกปี กรมการศาสนาจึงยกย่อง ตั้งเป็นโรงเรียนพระปริยัติธรรมประจำจังหวัดสุรินทร์ในปีพุทธศักราช ๒๕๓๕
ข. แผนกสามัญ
นอกจากจะให้บริการการเรียนการสอนแก่พระภิกษุสามเณรในด้านพระปริยัติธรรมแผนกธรรมและบาลีแล้ว วัดศาลาลอยได้เปิดการเรียนการสอนพระปริยัติธรรมสายสามัญขึ้นโดยมีนักเรียนที่เป็นพระภิกษูสามเณรเรียนตั้งแต่มัธยมศึกษาตอนต้น ถึงมัธยมศึกษาปีที่ ๖ และในระดับอุดมศึกษา ได้ร่วมกับคณะสงฆ์จังหวัดสุรินทร์และทางราชการจัดตั้งมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตสุรินทร์ เปิดทำการเรียนการสอนในระดับปริญญาตรี ๒ คณะ คือ คณะสังคมศาสตร์และคณะครุศาสตร์ (ปัจจุบันมหาวิทยาลัยฯ ได้ย้ายที่ทำการไปตั้งเอกเทศแล้ว ณ ห้วยเสนง บ้านโคกกระเพอ อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์)
ค. การศึกษาสงเคราะห์
การศึกษาสงเคราะห์เป็นกิจกรรมที่วัดให้บริการทางการศึกษาปริยัติธรรมรูปแบบหนึ่งโดยวิธีการให้เปล่าคือ การศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ ศูนย์เด็กก่อนเกณฑ์ภายในวัด และธรรมศึกษาตรี โท และเอก
การศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ได้ดำเนินกิจกรรมมาตั้งแต่ปี ๒๕๒๓ เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน ศูนย์เด็กก่อนเกณฑ์ได้เปิดทำการเมื่อปี ๒๕๓๔ ในปัจจุบันมีครูพี่เลี้ยง ๗ คน เด็กเล็ก ๑๒๗ คน ส่วนปริยัติธรรมแผนกธรรมศึกษา ได้ส่งครูไปช่วยสอนในโรงเรียนต่าง ๆ แล้วนำนักเรียนเหล่านั้นเข้าสอบธรรสนามหลวง ในนามของสำนักศาสนศึกษาวัดศาลาลอย เริ่มดำเนินการเมื่อปี ๒๕๓๙ ในปัจจุบันมีนักเรียนจากโรงเรียนต่าง ๆ เช่น สุรวิทยาคาร ส่งชื่อเข้าสอบธรรมสนามหลวงในนามวัดศาลาลอยปีละประมาณ ๓๐๐ - ๕๐๐ คน
วิธีส่งเสริมการศึกษา
- มอบรางวัลแก่ผู้ที่สอบได้บาลีในสนามหลวงตามความเหมาะสม
- ยกย่องผู้ที่สอบได้ในสนามหลวงให้ปรากฏ
- มอบหมายผู้ที่สอบได้เป็นเปรียญธรรมให้สอนนักเรียนรุ่นน้องต่อไป
- ส่งพระภิกษุผู้ทรงคุณวุฒิไปช่วยสอนในโรงเรียนที่ขอความร่วมมือ
- ส่งพระเปรียญ สามเณรเปรียญไปช่วยสอนในสำนักศาสนศึกษาที่ขาดครูสอนทั้งนักธรรมและบาลี
การเผยแผ่
- วัดศาลาลอยเป็นที่ตั้งศูนย์ครูปริยัตินิเทศจังหวัดสุรินทร์เป็นศูนย์กลางในการเผยแผ่ในปัจจุบัน
- การจัดการแสดงธรรม
ได้จัดวาระให้พระภิกษุสามเณรแสดงธรรมและฝึกสมาธิแก่ผู้สองอายุเป็นประจำทุกวันพระตลอดปี
- จัดพระธรรมกถึกแสดงธรรมทางสถานีวิทยุ - โทรทัศน์ตลอดปี
- จัดส่งพระวิทยากรไปอบรมข้าราชการ ทหาร ตำรวจ นักเรียนนักศึกษาและผู้บริหารแผนกต่าง ๆ ตลอดปี
- จัดพิธีรับเด็กและเยาวชนแสดงตนเป็นพุทธมามกะทุกปี ตั้งแต่ระดับบริบาล อนุบาล จนถึงระดับอุดมศึกษา ปีละประมาณ ๑,๒๐๐ คน
- จัดพิธีมาฆบูชา วิสาขบูชาและวันอาสาฬหบูชา เป็นประจำทุกปีไม่มีขาด แต่ละครั้งจะมีผู้เข้าร่วมพิธีเป็นพระภิกษุสามเณรให้สังกัดไม่ต่ำกว่า ๑๐๐ รูป และสาธุชน ข้าราชการ พ่อค้า ประชาชนทั่วไปประมาณ ๒๐๐ - ๒๕๐ ท่าน
- ตั้งศูนย์พุทธมามกะผู้เยาว์จังหวัดสุรินทร์
- จัดอบรมโครงการสู่ร่มอาราม แก่นักเรียนทุกปี
การสาธารณูปการ
ตั้งแต่ปี ๒๕๒๒ เป็นต้นมา โดยเจ้าอาวาสเป็นประธานในการจัดการ และจัดระเบียบวัด ทั้งจัดสร้างใหม่และบูรณะปฏิสังขรณ์ของเดิมให้อยุ่ในสภาพที่ใช้การได้ วัดศาลาลอยจึงมีอาคารเสนาสนะและถาวรวัตถุ เกิดขึ้นตามจุดประสงค์ของการใช้งานดังนี้
- ศาลาร้อยปี บูรณปฏิสังขรณ์จากเดิมเป็นเรือนไม้ทั้งหลัง รื้อออกแล้วสร้างใหม่ให้ทรงเดิม ย้ายไปทางฝั่งตะวันตกติดถนนสายเทศบาล ๒ ติดกำแพง ชั้นล่างก่ออิฐถือปูนกั้นห้องใช้เป็นศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์ในวัดร้อยกว่าคน ครูพี่เลี้ยง ๗ คน
- ศาลาการเปรียญ ในอุปถัมภ์พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดา-มาตุ เริ่มต้นโดยกองทุนของนางกานดา เตชะไพบูลย์ และพุทธศาสนิกชนทั่วไป ปัจจุบันใช้เป้นห้องประชุมพระสังฆาธิการ เจ้าคณะอำเภอ, รองเจ้าคณะอำเภอ, ระดับเจ้าคณะตำบล, รองเจ้าคณะตำบลและพระเลขานุการเจ้าคณะอำเภอ และหน่วยงานของภาครัฐและเอกชนขอใช้บางโอกาส และจัดงานพิธีต่างๆ เกี่ยวข้องอาราม
- กุฏิพรหมคุปต์ ทุนนางปลั่งศรี มูลศาสตร์ และญาติ (กุฏิเจ้าอาวาส)
- ศาลาเกตุสิริ ทุนนายดนัย นางพูนรัตน์ เกตุสิริ เป็นสถานที่รับรองพระสังฆาธิการที่เข้าร่วมประชุม ณ วัดศาลาลอย, เป็นห้องประชุมพระสังฆาธิการระดับเจ้าคณะอำเภอ, รองเจ้าคณะอำเภอ และเลขานุการเจ้าคณะอำเภอ และปัจจุบันเป็นศุนย์ผู้สูงอายุ ดำเนินการโดยโรงพยาบาลสุรินทร์
- ศาลาสุนทร เปลี่ยน รัตนสุวรรณ สร้างโดยทุนนายสุนทร นางเปลี่ยน รัตนสุวรรณ ใช้เป็นสถานที่บำเพ็ญกุศล
- ศาลาพิน แผ้ว มูลศาสตร์ ทุนนายแผ้ว นางพิน มูลศาสตร์ ใช้เป็นศาลาบำเพ็ญกุศล
- ห้องสมุดทวีศรี มนูรังสรรค์ ทุนของตระกูลมนูรังสรรค์ ห้องสมุดประจำวัดศาลาลอย
- กุฏิสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ ๒๐๐ ปี ทุนของอุบาสกอุบาสิกาคุ้มวัดศาลาลอย ใช้เป็นที่พักพิงของพระภิกษุสามเณร
- ที่พักสงฆ์เรือนยาว ทุนของอุบาสกอุบาสิกาคุ้มวัดศาลาลอย ใช้เป็นที่พักสำหรับพระภิกษุสามเณร ประมาณ ๓๐ รูป
- กุฏิสองประสาน ทุนนายประมวล นางวิไล วิเชียรรังสรรค์ ใช้เป็นเรือนรับรองพระผู้ใหญ่ตั้งแต่เจ้าคณะภาค รองเจ้าคณะภาคและสมเด็จราชาคณะ
- กุฏิเผยเมย นิยมตรง ทุนของนายเผย นางเมย นิยมตรง ปัจจุบันใช้เป็นที่พักสำหรับพระภิกษุสามเณร
- กุฏิเจ้าคุณ ทุนของนายโสร์ นางปริก แก้วปลั่ง ปัจจุบันใช้เป็นสถานที่พักของพระภิกษุและสามเณร ๑๗ รูป
- อาคารเรียนปริยัติธรรม ทุนของเทศบาลเมืองสุรินทร์ ปัจจุบันใช้เป็นอาคารเรียนปริยัติธรรมแผนกธรรม, แผนกบาลี, แผนกสามัญศึกษา ตั้งแต่ระดับมัธยมศึกษาปีที่ ๑ จนถึงมัธยมศึกษาปีที่ ๖ และงานสารบัญเลขานุการเจ้าคณะจังหวัดสุรินทร์
- พระอุโบสถ ทุนของพุทธศาสนิกชน เป็นสถานที่ทำวัตรสวดมนต์ บำเพ็ญสมาธิภาวนาประจำวัน และใช้ทำสังฆกรรมของพระสงฆ์
- มณฑปพระพุทธบาทจำลอง ทุนของนายซอติก นางงัก แซ่เตีย
- ห้องน้ำรวม ๓ แห่ง รวม ๑๘ ห้อง ทุนของวัดศาลาลอย
- หอระฆัง ทุนของตระกูลดีล้อม
- กุฏิประสพกฤชทอง ทุนนางประสพ กฤชทอง ใช้เป็นอาคารรับรองพระสังฆาธิการและอาคันตุกะทั่วไป
- ศาลาบัวแย้ม ทุนนางบัวแย้ม เทศไธสง ใช้เป็นสถานที่สันทนาการประจำวันของพระภิกษุสามเณร เป็นศาลาธรรมสากัจฉา
- ศาลาธวัช สงวนเสริมศรี ทุนนางอุทัยพันธ์ นางวรรณพร สงวนเสริมศรี ใช้เป็นอาคารสันทนาการประจำวันของพระภิกษุสามเณร เป็นศาลาธรรมสากัจฉา
- อาคารเรียนบาลีสาธิตวัดศาลาลอยสุรินทร์ ทุนของวัดและพุทธศาสนิกชนร่วมสร้าง
- มณฑปพระศรีอาริยเมตไตรย์
- ศาลาผู้ว่าเถกิง
- ศาลาพระพุทธไสยาสน์บรมนาถสุรินทร
- ตำหนักสมเด็จ