โครงการ เห็ดครบวงจร พล.ร.๙ 3.55

ค่ายสุรสีห์ กองพลทหารราบที่ ๙
Kanchanaburi, 91190
Thailand

About โครงการ เห็ดครบวงจร พล.ร.๙

โครงการ เห็ดครบวงจร พล.ร.๙ โครงการ เห็ดครบวงจร พล.ร.๙ is a well known place listed as Education in Kanchanaburi ,

Contact Details & Working Hours

Details

๑.ประวัติความเป็นมา
กองพลทหารราบที่ ๙ เป็นหน่วยที่มีที่ตั้งอยู่รวมกันภายในค่ายสุรสีห์ มีกำลังพลและครอบครัวอาศัยอยู่มากกว่า ๓๐,๐๐๐ คน ถือได้ว่าเป็นชุมชนขนาดใหญ่ อีกทั้งมีพื้นที่ตั้งค่ายที่กว้างขวาง ระบบสาธารณูปโภคใช้การได้อย่างดี ทำให้สามารถใช้พื้นที่ในการทำประโยชน์ได้เป็นอย่างดีโดยเฉพาะด้านการเกษตร
กองทัพบกได้กำหนดนโยบายให้หน่วยขึ้นตรง ใช้พื้นที่ที่ว่างเปล่าภายในหน่วย ทำการเกษตรตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อการบริโภคในครัวเรือนและนำส่วนที่เหลือจากการบริโภคไปจำหน่าย เพิ่มรายได้ ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายของสมาคมแม่บ้านทหารบกในเรื่องการลดรายจ่ายและเพิ่มรายได้ให้กับกำลังพลและครอบครัว การเพาะเห็ดในเรือนโรงเป็นการเกษตรประเภทหนึ่งที่นิยมทำกันภายในหน่วย เนื่องจากเห็ดมีสารอาหารประเภทโปรตีนสูง มีแป้งและไขมันต่ำ เหมาะต่อการบริโภคของทุกเพศทุกวัย สามารถจำหน่ายได้ในราคาสูง
การเพาะเห็ดในเรือนโรงของกองพลทหารราบที่๙ ในห้วงแรก ได้จัดซื้อก้อนเชื้อเห็ดจากภายนอกมาทำการเปิดดอก ต่อมากลุ่มแม่บ้านกรมหารราบที่ ๙ จึงได้รวมกลุ่มกันฝึกอบรมการผลิตก้อนเชื้อเห็ดและระดมทุนจัดตั้งกลุ่มผลิตก้อนเชื้อเห็ด สามารถผลิตก้อนเชื้อเห็ดจำหน่ายให้โรงเพาะเห็ดภายในค่ายสุรสีห์ และภายนอกหน่วยได้แต่การผลิตก้อนเชื้อเห็ดได้ผลิตเห็ดนางฟ้าเพียงอย่างเดียว ซึ่งยังไม่มีความหลากหลาย และยังขาดองค์ความรู้ด้านการบริหารจัดการ การบัญชี การตลาด และการพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การแปรรูปผลิตภัณฑ์เพิ่มคุณค่าทางการตลาด รวมทั้งข้อจำกัดด้านงบประมาณ และเทคโนโลยีที่จำเป็นต่อกระบวนการผลิต ส่งผลให้การประกอบการ ยังต้องได้รับการพัฒนาปรับปรุงเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ อีกทั้งผลกำไรที่ได้จากการประกอบการไม่สามารถนำไปช่วยเหลือกิจกรรมสังคม/ชุมชนได้มากเท่าที่ควร สมาคมแม่บ้านทหารบกร่วมกับ ชมรมแม่บ้าน กองพลทหารราบที่ ๙ จึงพิจารณาร่วมกันให้กลุ่มสมาชิกแม่บ้านกองพลทหารราบที่ ๙ จัดตั้งโครงการผลิตภัณฑ์จากเห็ดครบวงจรขึ้นภายใน กองพลทหารราบที่ ๙ เพื่อดำเนินการผลิต ผลิตภัณฑ์จากเห็ดครบวงจร โดยนำหลัก การบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทาน ( Supply Chain Management: SCM) ที่กระจายกระบวนการผลิตให้ ครบวงจร ได้แก่ การผลิตก้อนเชื้อเห็ด การเพาะเห็ดในโรงเรือน การทำผลิตภัณฑ์แปรรูปจากเห็ด ตลอดจนเปิดให้มีการศึกษาดูงานและฝึกอบรม ในลักษณะ กิจการเพื่อสังคม (Social Enterprie : SE) ที่มุ่งให้ผลกำไรที่ได้จากการประกอบการ คืนประโยชน์สู่สังคม/ชุมชน โดยสถาบันวิทยาการตลาดทุน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เข้ามาสนับสนุนงบประมาณและองค์ความรู้ ติดตามผลการดำเนินการ ให้มีความยั่งยืน เกิดการสร้างงานอย่างต่อเนื่อง และให้ประโยชน์ต่อสังคม
ประเภทของพันธุ์เห็ดที่อยู่ในโครงการผลิตเห็ดครบวงจร พล.ร.๙ จำนวน ๒ ประเภท ได้แก่
๑. เห็ดนางฟ้าพันธุ์ฮังการี
๒. เห็ดนางฟ้าพันธุ์ภูฐาน

ที่ตั้งโครงการ : บริเวณบ้านพักกำลังพล กองพลทหารราบที่ ๙
ห้วงระยะเวลาการดำเนินการ : ตั้งแต่ มี.ค. ๕๘ เป็นต้นไป
วัตถุประสงค์
-เพื่อสนองตอบโครงการเศรษฐกิจพอเพียงของกองทัพบก และโครงการพัฒนาอาชีพของสมาคมแม่บ้านทหารบก

การนำสมาชิกแม่บ้าน พล.ร.๙ ศึกษาดูงานการผลิตเห็ดจากวังน้ำเขียวฟาร์ม จว.นครราชสีมา
-เพื่อส่งเสริมการประกอบการของกลุ่มสมาชิกแม่บ้านทหารบก ให้มีลักษณะเป็นกิจการ เพื่อสังคมที่สร้างรายได้ให้กับกลุ่มสมาชิก ควบคู่ไปกับการสร้างประโยชน์ในชุมชน การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม การพัฒนาคุณภาพชีวิต และการสร้างเสริมสุขภาพ
-เพื่อสร้างต้นแบบการประกอบการที่ยั่งยืน ที่มีการพึ่งพากันระหว่างสมาชิกแม่บ้านทหารบก โดยมีกระบวนการผลิตที่เป็นธรรมต่อสังคม และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยยึดหลักการค้าที่เป็นธรรม ( Fair Trade) ทั้งต่อผู้ผลิตและผู้บริโภค
-เพื่อส่งเสริมให้ผลกำไรจากการประกอบการของกลุ่มสมาชิกแม่บ้านทหารบก มีส่วนช่วยเหลือการพัฒนาชุมชนและการพัฒนาคุณภาพชีวิตของครอบครัวทหารบก สมทบโครงการของสมาคมแม่บ้านทหารบก
-เพื่อให้สมาชิกภายในครอบครัวของกำลังพลที่ว่างงาน ได้มีงานทำ สร้างรายได้เสริม ให้ครอบครัวกำลังพลอีกทางหนึ่ง
-เพื่อเสริมสร้างความรักความสามัคคี ให้กับกลุ่มแม่บ้านภายในค่ายสุรสีห์ ด้วยการทำกิจกรรมร่วมกันอย่างเป็นระบบ และเกิดประโยชน์ต่อกำลังพลของหน่วยอย่างเป็นรูปธรรม

การรวมกลุ่มของสมาชิกโครงการผลิตเห็ดครบวงจร พล.ร.๙
เป้าหมาย
-จัดตั้งโครงการผลิตภัณฑ์เห็ดครบวงจร ตั้งแต่การผลิตก้อนเชื้อเห็ด การเพาะเห็ดในโรงเรือน การทำผลิตภัณฑ์แปรรูปจากเห็ด ตลอดจนการศึกษาดูงานและฝึกอบรม ให้อยู่ในที่เดียวกัน บริหารจัดการโดยกลุ่มแม่บ้านกองพลทหารราบที่ ๙ มีผู้บังคับบัญชาของหน่วยเป็นคณะกรรมการที่ปรึกษา
-กลุ่มผลิตก้อนเชื้อเห็ด สามารถผลิตก้อนเชื้อเห็ดจำหน่ายได้หลากหลายชนิดตามความต้องการของตลาด ขั้นต่ำสามารถผลิตได้อย่างน้อยเดือนละ ๓๖,๐๐๐ก้อน
-กลุ่มเพาะเห็ดในโรงเรือน ผลิตดอกเห็ดหลากหลายประเภทออกจำหน่ายตามความต้องการของตลาด ผลิตได้ขั้นต่ำระยะแรกเดือนละ ๗๕๐กก. ระยะที่สองผลิตได้เดือนละ ๑,๘๐๐ กก.
-จัดตั้งเป็นรัฐวิสาหกิจชุมชนภายในค่ายสุรสีห์ในอนาคต เพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากหน่วยงานอื่นๆเพิ่มเติม
-ผลกำไรสุทธิ ที่ได้จากการประกอบการนำไปเป็นผลตอบแทนทางสังคม ( Social Return of Investment: SROI) มากกว่า ๑๒ %
-โครงการผลิตภัณฑ์จากเห็ดครบวงจรจะสามารถเป็นแหล่งผลิต และเป็นศูนย์การเรียนรู้เห็ดที่ครบวงจรขนาดใหญ่ในพื้นที่ภาคตะวันตก

คณะกรรมการการบริหาร
๑) ประธานชมรมแม่บ้าน พล.ร.๙ เป็น ประธานกรรมการ
๒) ประธานชมรมแม่บ้าน พล.ร.๙ ( ๑ ) เป็น รองประธานกรรมการ ( ๑ )
๓) ประธานชมรมแม่บ้าน พล.ร.๙ ( ๒ ) เป็น รองประธานกรรมการ ( ๒ )
๔) ประธานชมรมแม่บ้าน ร.๙ เป็น กรรมการ
๕) ประธานชมรมแม่บ้าน ร.๑๙ เป็น กรรมการ
๖) ประธานชมรมแม่บ้าน ร.๒๙ เป็น กรรมการ
๗) ประธานชมรมแม่บ้าน ป.๙ เป็น กรรมการ
๘) ประธานชมรมแม่บ้าน กรม สน. เป็น กรรมการ
๙) เลขานุการชมรมแม่บ้าน พล.ร.๙ เป็น กรรมการ/เลขานุการ
๑๐)ผู้ช่วยเลขานุการชมรมแม่บ้าน พล.ร.๙(๑) เป็น กรรมการ/ผู้ช่วยเลขานุการ(๑)
๑๑)ผู้ช่วยเลขานุการชมรมแม่บ้าน พล.ร.๙(๒) เป็น กรรมการ/ผู้ช่วยเลขานุการ(๒)



กรรมการที่ปรึกษา : ประกอบด้วย
๑) ผบ.พล.ร.๙ เป็น ประธานกรรมการ
๒) ที่ปรึกษา ผบ.พล.ร.๙ เป็น รองประธานกรรมการ ( ๑ )
๓) รอง.ผบ.พล.ร.๙( ๑ ) เป็น รองประธานกรรมการ ( ๒ )
๓) รอง.ผบ.พล.ร.๙ ( ๒ ) เป็น รองประธานกรรมการ ( ๓ )
๔) ผบ.ร.๙ เป็น กรรมการ
๕) ผบ.ร.๑๙ เป็น กรรมการ
๖) ผบ.ร.๒๙ เป็น กรรมการ
๗) ผบ.ป.๙ เป็น กรรมการ
๘) ผบ.กรม สน. เป็น กรรมการ
๙) เสธ.พล.ร.๙ เป็น กรรมการ/เลขานุการ
๑๐)รอง.เสธ.พล.ร.๙(๑) เป็น กรรมการ/ผู้ช่วยเลขานุการ(๑)
๑๑)รอง.เสธ.พล.ร.๙(๒) เป็น กรรมการ/ผู้ช่วยเลขานุการ(๒) ๑๒)หน.ฝกร.พล.ร.๙ เป็น กรรมการ/ผู้ช่วยเลขานุการ(๓)


คณะทำงาน/กรรมการที่ปรึกษา ประชุมสรุปขั้นตอนการดำเนินงานและแบ่งมอบความรับผิดชอบ

คณะทำงาน
๑) ประธานชมรมแม่บ้านหน่วยขึ้นตรงระดับกรม/กองพัน เป็น หัวหน้าคณะทำงานฯ
๒) เลขานุการชมรมแม่บ้าน หน่วยขึ้นตรง พล.ร.๙ เป็น เลขานุการคณะทำงาน
๓) สมาชิกแม่บ้าน เป็น เหรัญญิก
๔) สมาชิกแม่บ้าน เป็น เจ้าหน้าที่ฝ่ายการตลาดและจัดส่ง
๕) สมาชิกแม่บ้าน เป็น เจ้าหน้าที่ฝ่ายควบคุมการผลิต

บทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบคณะกรรมการ และคณะทำงานกลุ่มผลิตภัณฑ์
๑) ประธานกรรมการ รับผิดชอบกำหนดนโยบายและแผนการดำเนินงาน กำกับดูแล ให้คำปรึกษา ตรวจสอบการดำเนินงาน สนับสนุนทั่วไปให้แก่คณะทำงาน และรายงานผลการดำเนินการให้สมาคมแม่บ้านทหารบกทราบ
๒) กรรมการ รับผิดชอบ ให้ความช่วยเหลือและให้ข้อเสนอแนะต่อ ประธานกรรมการ รวมทั้งพิจารณาให้ความเห็นชอบในการดำเนินงาน
๓) หัวหน้าคณะทำงาน รับผิดชอบ อำนวยการและกำกับดูแลคณะทำงานและสมาชิกแม่บ้านที่เข้ามาดำเนินการผลิตผลิตภัณฑ์จากเห็ด ให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย อนุมัติการสั่งซื้อวัตถุดิบหรือสิ่งอุปกรณ์ที่จำเป็น และรายจ่ายที่เกี่ยวข้อง โดยรายงานสรุปผลการดำเนินงาน และแสดงบัญชีรายรับ – รายจ่าย รายเดือนให้ประธานกรรมการทราบ
๔) เลขานุการคณะกรรมการ รับผิดชอบ ดำเนินงานทางธุรการ ให้ความช่วยเหลือประธานคณะกรรมการตามที่ได้รับมอบ ประสานงานกับคณะทำงานในแต่ละด้าน ควบคุมระบบเอกสาร แล้วเสนอรายงานให้ประธานคณะกรรมการทราบ เพื่อดำเนินการต่อไป
๕) เลขานุการคณะทำงาน รับผิดชอบ ดำเนินการทางธุรการ ให้ความช่วยเหลือหัวหน้าคณะทำงานตามที่ได้รับมอบ ให้คำปรึกษาเจ้าหน้าที่/กลุ่มสมาชิกแม่บ้านที่เข้ามาปฏิบัติงาน ประสานงานการดำเนินงานภายในกลุ่มสมาชิก และระหว่างบุคคลหรือหน่วยงานภายนอก ควบคุมระบบเอกสารแล้วเสนอให้หัวหน้าคณะทำงานทราบ
๖) เหรัญญิก รับผิดชอบ เบิก – จ่ายเงินตามสั่งอนุมัติของหัวหน้าคณะทำงาน รับผิดชอบเอกสารทางการเงิน จัดบัญชีรายรับ – รายจ่ายเงินให้สอดคล้องกับ เอกสารที่เกี่ยวข้องระหว่างเจ้าหน้าที่การตลาดและขายและเจ้าหน้าที่ควบคุมการผลิต และสอดคล้องกับสมุดบัญชีคู่ฝากธนาคาร
๗) เจ้าหน้าที่ฝ่ายการตลาดและประชาสัมพันธ์ รับผิดชอบ รับการสั่งซื้อจากลูกค้า แล้วเสนอความต้องการไปยังเจ้าหน้าที่ควบคุมการผลิต ผ่านเลขานุการ ดำเนินการจัดส่งและจำหน่ายผลิตภัณฑ์กับลูกค้า รวมทั้งการประชาสัมพันธ์ รวบรวมเงินที่ได้จากการจำหน่าย แล้วส่งมอบพร้อมรายงานเป็นเอกสารประกอบกับใบสำคัญรับเงินรายสัปดาห์ให้เหรัญญิกทราบ รวมทั้งประสาน หน.ฝกร.พล.ร.๙ ในการจัดจำหน่ายผลผลิต และประชาสัมพันธ์ให้กับหน่วยงานทั้งในและนอกพื้นที่
๘) เจ้าหน้าที่ฝ่ายควบคุมการผลิต รับผิดชอบ ดำเนินการผลิตผลิตภัณฑ์จากเห็ดตามการสั่งซื้อ แล้วส่งมอบผลผลิตไปยังเจ้าหน้าที่การตลาดและขาย ผ่านเลขานุการ จัดให้สมาชิกแม่บ้านเข้ามาปฏิบัติงานผลิตก้อนเชื้อเห็ดอย่างต่อเนื่อง จัดทำเอกสารบัญชีรายชื่อสมาชิกแม้บ้านที่เข้ามาปฏิบัติงาน ยอดการผลิตรายวัน กำกับดูแลและควบคุมการผลิตให้มีคุณภาพ รวมทั้งเบิกค่าแรงรายวันให้แก่สมาชิกผู้เข้ามาปฏิบัติงาน
งบประมาณ พล.ร.๙ พิจารณาจัดสรรงบประมาณจากกองทุนสวัสดิการต่างๆ ของหน่วยผนวกร่วมกับ งบประมาณกองทุนที่ได้รับการสนับสนุนจากภายนอก มาใช้ในการดำเนินการจัดสร้างอาคารสถานที่, ระบบสาธารณูปโภค, สิ่งอุปกรณ์ และวัตถุดิบในการผลิตภัณฑ์รวมทั้งงบประมาณ การศึกษา ดูงาน และการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่

การปันผล
- สนับสนุนเป็นค่าแรงให้กับแม่บ้านที่เข้าร่วมโครงการ
- จัดสรรผลกำไรเข้าสู่กิจการเพื่อสนับสนุนโครงการช่วยเหลือกำลังพลในการดูแลของสมาคมแม่บ้านทหารบกเป็นส่วนรวมทั้งกองพล
- จัดสรรงบประมาณส่วนหนึ่งเป็นงบพัฒนาโครงการในแต่ละกลุ่มผลิตภัณฑ์
- งบประมาณค่าสาธารณูปโภค (ค่าไฟฟ้าและน้ำประปา)

ผลประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
ผลกำไรเข้ากองทุน SE สนับสนุนโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตของสมาคมแม่บ้านทหารบก และชมรมแม่บ้านกองพลทหารราบที่ ๙
-โครงการห่วงใยบุตรที่มีความต้องการพิเศษ และปันน้ำใจสู่คู่สมรสที่ทุพพลภาพ : สนับสนุนการจัดหารถเข็น เครื่องช่วยฟัง เบี้ยยังชีพ สำหรับผู้พิการ
-โครงการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม : สนับสนุนการจัดตั้งธนาคารขยะรีไซเคิลในชุมชน การจัดถังรองรับขยะ
-โครงการพัฒนาเด็กเล็ก : สนับสนุนการปรับปรุงอาคารสถานที่ การจัดหา เครื่องเล่นเด็ก
-โครงการศูนย์การเรียนรู้ : สนับสนุนการปรับปรุงอาคารสถานที่ สิ่งอุปกรณ์เพื่อการศึกษาค้นคว้า เครื่องคอมพิวเตอร์
-โครงการอาชีพเสริมและพัฒนาผลิตภัณฑ์ : สนับสนุนให้กลุ่มสมาชิกแม่บ้านมีรายได้เสริมที่ยั่งยืน ช่วยลดปัญหาหนี้สินในครัวเรือน

OTHER PLACES NEAR โครงการ เห็ดครบวงจร พล.ร.๙